กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ 2.) เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ และ 3.) เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ ผลการดำเนินโครงการพบว่า

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ และคณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. การเข้าร่วมอบรมของกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรมล่าช้า เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลาย และการประกอบอาชีพของแต่ละคน แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

  2. ระยะเวลาในการลงตรวจร้านค้ามีความกระชันชิดจนเกินไป เนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมมาล่าช้าจึงจำเป็นต้องดำเนินการลงตรวจติดต่อกัน เพื่อไม่ให้การรายงานผลเลยเวลาที่กำหนด

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ