กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ(จำนวน 2 ครั้ง) 29 มี.ค. 2561 3 ส.ค. 2561

 

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ (จำนวน 2 ครั้ง)

  • คัดเลือกคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

  • สำรวจข้อมูลการใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชนและโรงเรียนเพิ่มเติม

  • ประชุม วิเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ และวางแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

  • รายงาน สรุป ผลการตรวจร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน เพื่อหาแนวทางและวางแผนการดำเนินต่อไป

 

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

 

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียน 18 เม.ย. 2561 27 ส.ค. 2561

 

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียน

2.1 อบรมให้ความรู้
- ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับกล่องโฟมบรรจุอาหาร อันตราย โทษ พิษภัย และผลกระทบต่อสุขภาพของกล่องโฟม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันทอดซ้ำ อันตราย โทษ พิษภัย และผลกระทบต่อสุขภาพ
- สอน/สาธิต การทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในอาหาร
- คืนข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำให้ชุมชนและโรงเรียน

2.2 รณรงค์และประชาสัมพันธ์
- เดินรณรงค์ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน โดยกลุ่มแกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
- แจกแผ่นผับให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำแก่ประชาชนในชุมชน

 

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

 

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 พ.ค. 2561 1 ก.ค. 2561

 

กิจกรรมที่ 3 ตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ตรวจ/แนะนำ ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารแต่ละประเภทและโรงอาหารในโรงเรียน
- ทดสอบน้ำมันทอดซ้ำก่อน-หลังการใช้  จำนวน  3  ครั้งและกรณีร้านค้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจก็ดำเนินการลงตรวจซ้ำอีก
- น้ำมันที่เหลือจากการใช้แล้วเก็บรวบรวมจำหน่ายต่อไป

 

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

 

กิจกรรมติดตามผล 1 พ.ค. 2561 20 มี.ค. 2562

 

  • เยี่ยมติดตามร้านค้าและโรงอาหารที่ได้ตรวจแนะนำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อตรวจสอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการ
  • สุ่มประเมินผลการใช้บริการของผู้บริโภค เปรียบเทียบก่อน-หลัง ดำเนินการ

 

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ

 

กิจกรรมมอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ” แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน 5 ก.ย. 2561 11 มี.ค. 2562

 

  • มอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ”  ในเวทีทั่วไป เพื่อเป็นตัวอย่างและขวัญกำลังใจให้แก่ร้านค้า
  • ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรในที่สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ทราบ

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

 

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 10 ก.ย. 2561 20 มี.ค. 2562

 

จัดทำรูปเล่มรายงาน

 

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์