กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
80.00 85.22

 

2 2 เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
90.00 100.00

 

3 3 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน
100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ 2.) เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ และ 3.) เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ ผลการดำเนินโครงการพบว่า

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ และคณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh