กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า
รหัสโครงการ 61-L3308-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญเอื้อ แสงศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (WHO, 2003) คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนใน พ.ศ. 2551 เป็น 570 ล้านคนใน พ.ศ. 2563 โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ที่เป็นสาเหตุอันดับสี่ของโรคนับตามจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ (Years lived with disability: YLDs) และได้คาดการณ์ว่าใน ค.ศ. 2000 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 1,700 และ 2,693 คนต่อประชากร 100,000 คน(Haq&Davatchi, 2011)คณะผู้เชี่ยวชาญโรคข้อขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization’s Scientific Group on Rheumatic Disease) ประมาณการว่า มีประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเป็นโรคข้อเสื่อมกว่าร้อยละ 10 พบความชุกสูงสุดที่ข้อมือและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (Pereira et al., 2011; Cooper et al., 2013;)กลุ่มนักวิชาการโรคข้อเข่าเสื่อม ยืนยันว่าอุบัติการณ์เริ่มพบในประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี ตำแหน่งของข้อที่มักพบการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้าแต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วยและการรับบริการมากที่สุดคือ ข้อเข่า(Brooks, 2003; Zhang et al., 2010; Richmond et al., 2010) โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee) เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Adult and elderly group) เป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุด เป็น 1 ใน 10 โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุอีกทั้งมีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดพยาธิสภาพของข้อเข่าอย่างไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้แล้วการบำบัดแบบไม่ใช้ยา (Non-pharmacological treatment) และหรือการแพทย์แบบผสมผสาน (Complementary therapy) เป็นข้อเสนอที่ดีในการบำบัดที่ได้ผลดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น (Primary knee osteoarthritis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงอยู่ในชุมชนจำนวนมาก โรคข้อเข่าเสื่อมคือโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเป็นผลที่มาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกันทาให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมาซึ่งในทางแผนไทยโรคข้อเข่าเสื่อมเปรียบได้กับโรคลมจับโปงเข่าโรคลมจับโปงคือโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหารอากาศน้ำ และเป็นเฉพาะที่เข่ากับข้อเท้านั้นแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ 1.ลมจับโปงน้ำอาการปวดมากบวมแดงร้อนและมีน้าในข้อขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนขึ้นเสมอ 2.ลมจับโปงแห้งอาการบวมมีความร้อนไม่มากนักบางครั้งมีแดงเล็กน้อยแต่จะมีสภาวะหัวเข่าติดขาโก่งอาการปวดน้อยกว่าลมจับโปงน้า ดังนั้น งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด จึงได้จัดทำโครงการการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่าขึ้น เนื่องจากพบอุบัติการณ์ของโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพ มีผลกระทบสูงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวและเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ กลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตยายาพอกเข่าเพื่อบำบัดอาการปวด และสามารถผลิตยาพอกเข่าโดยใช้สมุนไพรในท้องถิ่นได้ 2 เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการใช้ยาสมุนไพร

1.กลุ่มผู้สูงอายุ สามารถผลิตยาพอกเข่าใช้เองได้ ร้อยละ 80 2.เพิ่มการใช้ยาสมุนไพรคิดเป็นร้อยละ 20 ของยาแผนปัจจุบัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
28 ธ.ค. 61 1.1 วิเคราะห์ปัญหาสถานโรคข้อเข่าเสื่อมในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด 1.2 เขียนโครงการเพื่อของบประมาณ 1.3 ประสานงานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ 2. กิจกรรมอบรมการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า 2.1 อบรบความรู้เรื่องโรคเข่าเสื่อม การดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แ 60 10,000.00 10,000.00
28 ธ.ค. 61 ผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า 60 10,000.00 -
รวม 120 20,000.00 1 10,000.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน   1. วิเคราะห์ปัญหาสถานโรคข้อเข่าเสื่อมในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด   2. เขียนโครงการเพื่อของบประมาณ   3. ประสานงานวิทยากรเพื่อให้ความรู้
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน   1. จัดกิจกรรมอบรบการผลิตยาพอกบำบัดอาการปวดเข่า เชิงปฏิบัติจริงโดยแพทย์แผนไทย
    • อบรบความรู้เรื่องโรคเข่าเสื่อม การดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย
    • อบรบการทำยาพอกเข่าสมุนไพร และฝึกทักษะการพอกเข่า
    • อบรบความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องการโรค (การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน)
        2. ติดตามผลการพอกเข่าและอาการปวดเข่าในกลุ่มผู้ป่วยทุก 3 เดือน   3.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อเข่าได้รับบริการลดอาการปวดด้วยยาพอกเข่า โดยมีอาการปวดลดลง มากกว่า หลังการรับบริการ   2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและญาติผู้ป่วยสามารถทำยาพอกเข่าเองได้และมีความพึงพอใจในการใช้งานเพิ่มขึ้น
  3. อสม. ผ่านการอบรมและสามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาผลิตยาพอกเข่าได้   4. ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และลดการใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อแก้ปวดลง (ชนิดรับประทาน , ทาภายนอก )

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 09:21 น.