โครงการแก้ไขปัญหาแม่และเด็กในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (ศสม.ยะกัง2)
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ไขปัญหาแม่และเด็กในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (ศสม.ยะกัง2) |
รหัสโครงการ | 61-L7885-1-37 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศสม.ยะกัง2 |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเยาวรี คอลออาแซ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 52 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะครรภ์เสี่ยง หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซึ่งส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ คลอด หรือหลังคลอด
ภาวะครรภ์เสี่ยงสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยเช่น มีประวัติเคยคลอดลูกแล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอดมาก่อนมีประวัติทารกคลอดก่อนและหลังกำหนดคือคลอดก่อนอายุครรภ์37สัปดาห์หรือคลอดอายุครรภ์เกิน42สัปดาห์เต็มขึ้นไปมีประวัติเคยแท้งบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งมีประวัติเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม มีประวัติทารกโตช้าในครรภ์ มีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง มีประวัติครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนมีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดที่ตัวมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แฝดทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)มารดาตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 40 ปีมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์มีหมู่เลือด Rh เป็นลบมีก้อนในอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง โดยความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอทเป็นเบาหวานชนิดต้องพึ่งพาอินซูลินเป็นโรคหัวใจเป็นโรคไตเป็นโรคทางอายุรกรรมต่างๆเช่น โลหิตจางต่อมไทรอยด์เป็นพิษภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน(SLE)โรคธาลัสซีเมียโรคลมชัก วัณโรคเป็นต้นเป็นโรคติดเชื้อ HIV (โรคเอดส์) กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบีหากสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นนี้ ควรเข้ารับคำปรึกษาและได้รับการดูแลในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง เพื่อให้การดูแลรักษาเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย
การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงมีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยของลูกน้อยและต่อมารดาเอง การใส่ใจในสุขภาพจะช่วยหญิงตั้งครรภ์และทารกมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง อย่างไรก็ดี วิธีการดูแลตนเองอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับภาวะเสี่ยงที่หญิงตั้งครรภ์เป็น ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขรวมทั้งแกนนำ/อาสาสมัครสาธารณะสุขจึงต้องมีความรู้ภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์สามารถเป็นผู้ให้บริการดูแล และให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยงไปจนถึงวันคลอดทารกได้อย่างปลอดภัย ดั้งนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนยะกัง 2จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาแม่และเด็กในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่สมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะกัง๒ มีความรู้เรื่องภาวะเสี่ยง 5 โรคในหญิงตั้งครรภ์ และสามารถนำความรู้ให้คำแนะนำได้ถูกต้อง อัตราตายของมารดาไม่น้อยกว่า ไม่เกิน 15 ต่อการเกิดมีชีพแสนประชากร |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะเสี่ยง 5 โรคในหญิงตั้งครรภ์ แก่ อสม.และแกนนำชุมชน ทั้ง 7 ชุมชน
- สรุปผลการดำเนินงาน
๑.สมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนยะกัง๒ ได้รับการพัฒนาความรู้ อย่างมีคุณภาพ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 10:52 น.