กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอครอบครัวเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลคนพิการในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L4150-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรฮายาตี ซามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการลงเยี่ยมบ้านพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเทศบาลตำบลยะหา มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่การเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นโรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลฟื้นฟูผู้พิการ เพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากญาติ และผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการที่ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านจากโรงพยาบาล จึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ผู้พิการเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้น ต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมดังนั้น ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังและของผู้พิการ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเทศบาลตำบลยะหา จำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 5หมู่บ้าน จำนวนประชากร 7,419 คน มีบุคลากรสาธารณสุข 7คน เป็น พยาบาลวิชาชีพ 5 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข 2 คนอสม. 9๐ คน โรงเรียน 6 แห่ง วัด 1 วัด ข้อมูลผู้พิการมีดังนี้ผู้พิการ จำนวน154คน ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 6 คน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน3 คนผู้ป่วยอัมพฤกษ์/ อัมพาตจำนวน 7 คน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า จำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอแก่การให้บริการโดยเฉพาะการให้บริการในชุมชน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไปไม่ถึง แต่เนื่องจากยังมีองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน อีกมากมายที่ถ้าได้มีการพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถดูแลผู้พิการติดเตียง หรือผู้พิการในชุมชนได้ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยและผู้พิการดังนั้น โครงการนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจและเยี่ยมบ้านผู้พิการที่มีปัญหา ๒. เตรียมชุมชน ประชาคมให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงแผนงาน / โครงการ ๓. คัดเลือกผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน หมอครอบครัว โดยคัดเลือกมา หมู่บ้านละ ๕ คน ๔. จัดการประชุม / อบรมกลุ่มเป้าหมายผู้พิการ เพื่อรวบรวมปัญหา จัดกลุ่ม ร่วมกัน หาแนวทางแก้ไขปัญหา ๕. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่หมอครอบครัว โดยจัดให้มีการฝึกปฏิบัติจริงในชุมชน โดยบุคลากรจาก สหวิชาชีพ ๖. จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วย / ผู้พิการ ตามเกณฑ์ ๗. กำหนดให้มีหมอครอบครัวหมู่บ้านละ ๕ คน เป็นผู้ดูแลตามคู่มือ ถ้าพบว่าเกินความสามารถต้องมีการ ประสานกับ จนท . ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา ทุกครั้ง ๘. จัดทำแบบประเมินผลการติดตามดูแลของหมอครอบครัว 9. จัดหาอุปกรณ์กายภาพหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ พร้อมกับสาธิตการทำอุปกรณ์อย่างง่าย ๑0. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานจากหมอครอบครัว ปีละ 2 ครั้ง ๑1. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยและผู้พิการในชุมชนมีความรู้และมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ๒. หมอครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชนได้ ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน ๔. อัตราความรุนแรงของโรคลดลง อัตราความพิการลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 11:46 น.