กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันโรคติดเชื้อในสถานศึกษาตำบลยะหา
รหัสโครงการ 61-L4150-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 18,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรูซีลา โตะกีเล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไม่ให้มีการแพร่กระจาย โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จากตัวเชื้อโรคเองหรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์สโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การป้องกันโรคติดเชื้อในสถานศึกษา นับว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะในสถานศึกษามีกลุ่มคนเป็นกลุ่มก้อน เมื่อมีโรคระบาดหรือโรคติดต่อจะทำให้กระทบกับระบบการเรียนการสอน และจะต้องหยุดเรียนเป็นเวลานาน การป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีเป็นการป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งโรคที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันในสถานศึกษา ได้แก่ โรคมือเท้าปาก โรคสุกใส โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การประเมินพฤติกรรมและความรู้ของตัวแทนนักเรียน ผู้ปกครอง และคุณครูในสถานศึกษา ก่อนดำเนินโครงการ
    1. การลงพื้นที่ทำกิจกรรมในโรงเรียนในแต่ละโรงเรียน จำนวน 5 โรงเรียน (1) การให้ความรู้เป็นฐานการเรียนรู้ จำแนกรายโรค
    • โรคสุกใส
    • โรคมือเท้าปาก
    • โรคตาแดง
    • โรคไข้หวัดใหญ่ (2) การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีให้กับผู้ปกครองนักเรียนสำหรับนักเรียนในกลุ่มปฐมวัย และนักเรียนในกลุ่มประถมศึกษา และคุณครูอนามัยโรงเรียน
    1. การประเมินความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพโดยแบ่งลักษณะการประเมินหลังดำเนินกิจกรรมดังนี้
    • กลุ่มวัย 0-5 ปี ประเมินจากการล้างมือให้สะอาด
    • กลุ่มวัยประถมศึกษา ประเมินจากการ วาดภาพระบายสี ในหัวข้อ “ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัยจากโรคติดต่อ” โดยเป็นผลงานและชิ้นงานของแต่ละคนในการสร้างสรรค์ผลงาน และมอบรางวัลสำหรับผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ จำนวนโรงเรียนละ 3 รางวัล
    • กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มคุณครู ประเมินจากแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรม
    1. การสมมุติสถานการณ์โรคติดต่อในสถานศึกษา และร่วมกันซ้อมแผนในกรณีมีโรคติดต่อ (โรคติดเชื้อในสถานศึกษา) สามารถประเมินความรู้การปฏิบัติและพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้
    2. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดความเสี่ยงการระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพในสถานศึกษาและชุมชน
  2. เครือข่ายชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษาและชุมชน
  3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อในกลุ่มวัยเด็กอายุ 0-12 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 11:57 น.