กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนร่วมใจห่วงใยผู้ป่วยจิตเวช
รหัสโครงการ 61-L4150-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2018 - 7 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2018
งบประมาณ 20,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซาน ปานาวา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคจิตเวช (Schizophrenia) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ยังส่งผลกระทบไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ผู้ป่วยจิตเวชมักขาดโอกาสและการสนับสนุนในสังคม ทำให้ตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆ หรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงในการดูแล ส่งผลให้ญาติมีความท้อแท้ เบื่อหน่าย หมดความหวังและกลังใจในการรักษา ผลกระทบในด้านลบทีเกิดขึ้นมีทั้ง ด้านผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธการเจ็บป่วย ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง ไม่ยอมรับประทานยา หรือปรับการรับประทานยาเอง ด้านผู้ดูแล ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ไม่มีเวลา ต้องไปประกออาชีพทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่คนเดียว ขาดทักษะในการดูแลผู้ป่วย มีทัศนคติด้านลบต่อผู้ป่วยจิตเวช คิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หายด้านชุมชน ประกอบด้วย ตนในชุมชนหวาดกลัวต่ออาการกำเริบ อาจมีทัศนคติด้านลบต่อผู้ป่วยโรคจิต เพิกเฉย มีความคิดว่าผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถอยู่ในชุมชนได้นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตมักมีการดำเนินโรคเรื้อรัง และกลับเป็นซ้ำบ่อย ซึ่งมีผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้น อาการเรื้อรังไม่หายขาด การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน กิจกรมการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ได้แก่ กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การดูแลให้ได้รับยาต่อเนื่อง การเฝ้าระวังและจัดการปัจจัยกลุ่มเสี่ยงต่อการกำเริบ ส่งเสริมปัจจัยที่ทำให้ญาติและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เชื่อมโยงข้อมูลในการส่งต่อในกรณีมีภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ เป็นการดเนินงานภายใต้บริบทแลละสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย โดยทีมสุมสุขภาพในชุมชน ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการดูแล ฉะนั้น การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีหลักการสำคัญคือ การให้การรักษาและดูแลต่อเนื่องในชุมชน เพื่อไม่ให้อาการทางจิตกำเริบซ้ำ เมื่อไม่กำเริบซ้ำ ผู้ป่วยก็มีโอกาสใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนคนอื่นๆ คลินิกสุภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ซึ่งในพื้นที่ตำบลยะหามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคจิตเภท และขึ้นทะเบียนจำนวน 52 ราย รับยาที่รพ.ยะหาจำนวน ราย รับยาที่รพศ.ยะลา จำนวน ราย และโรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ จำนวนราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำฐานทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนแยกเป็นรายหมู่บ้าน
    ๒. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานและร่วมกำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนที่ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ. 2561 เยี่ยมอย่างเดือนทุก 1 เดือน 6 ครั้ง/คน ๓. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินวางแผนพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน โดยแบกเป็นรายหมู่บ้านในพื้นที่ของตนเอง ได้แก่ ญาติผู้ดูแล อสม. ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำในชุมชน มอบหมายบทบาทหน้าที่ ดังนี้
    • ญาติ ดูแลเรื่องการรับประทานยา/รับยาต่อเนื่อง/เฝ้าระวังอาการกำเริบ/สังเกตอาการผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยา

- อสม. ประจำครอบครัว ติดตามเยี่ยมบ้านทุก 1 เดือน จำนวน 6 ครั้ง เฝ้าระวังการขาดยา/รับยาไม่ต่อเนื่อง - ผู้นำชุมชน/แกนนำ สร้างทัศนคติที่ดี/ให้โอกาส/ไม่สนับสนุน เช่น ชวนดื่มสุรา/เสพยาเสพติด/บุหรี่ - อบต. ด้านเศรษฐกิจ เบี้ยผู้พิการ สบับสนุนงบประมาณการประกอบอาชีพในชุมชนตามศักยภาพของผู้ป่วยจิตเวช -คลินิกสุขภาพจิตโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาดูแลติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมครั้งที่ 1 และครั้งที่ ๖ และสนับสนุนให้คำปรึกษา/รับส่งต่อกรณีอาการกำเริบ ๔.. จัดกิจกรรม “ด้วยรักและผูกผัน”ระหว่างผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัวเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้ฝึกทักษาการเข้าสังคมเพิ่มพูนความภาคภูมิใจในตัวของผู้ป่วยจิตเวช

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน
    1. อาการกำเริบหรือการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชลดลง
    2. ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดภาระการดูแลของญาติ
    3. องค์กรการปกครองท้องถิ่น และภาคีสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2018 12:06 น.