กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจิตอาสาแม่และเด็ก เข้าถึง เข้าใจ ดูและครอบครัวฝากครรภ์คุณภาพ
รหัสโครงการ 61-L4150-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกวรรณ เรืองสง่า
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลามีความประสงค์จะจัด โครงการจิตอาสาแม่และเด็ก เข้าถึง เข้าใจ ดูแลครอบครัวฝากครรภ์คุณภาพ ในปีงบประมาณ 256๑โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะหา เป็นเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,500บาท (สองหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดโครงการ ดังนี้

ปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยังส่งผลต่อสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์และอาจส่งผลในระยะคลอดได้ สถานการณ์สุขภาพของแม่และเด็กอำเภอยะหา จังหวัดยะลาปี 2558 – 2560(ตค-กพ) มีรายงานการตายของมารดาปี 2558 จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 111.48 ต่อแสนการเกิดมีชีพ สาเหตุจาก Uterine ruptureปี 2559 จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 369ต่อแสนการเกิดมีชีพ สาเหตุจาก รายที่1 Anaphylactic shock R/O Amniotic embolism มีสาเหตุร่วม PPH รายที่ 2 septic shock หลังผ่าตัด อัตราทารกตายปริกำเนิด 12.14 , 8.46, 4.18 ต่อพันการเกิดสาเหตุจาก สำลักน้ำคร่ำ คลอดก่อนกำหนด อัตราทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 7.36,8.08, 2.08 สาเหตุจาก คลอดก่อนกำหนด ครรภ์แฝดอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางขณะใกล้คลอด ร้อยละ 18.10, 21.56 21.39 เนื่องจากสาเหตุ ไม่รับประทานยาต่อเนื่อง จาก อาการข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ลืมรับประทานยา ผล OF DCIP Positive ฝากครรภ์ช้า เกิน 26 wksตามลำดับ ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก จำเป็นจะต้องดำเนินการในหลายด้านไปพร้อมกันทั้งส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลมารดา ตั้งแต่ มารดาตั้งครรภ์คลอดหลังคลอดให้มีภาวะโภชนาการที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนให้เหมาะสม โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ดังนั้น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก สร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก โดยชุมชนมีส่วน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริการสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็กอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชน เน้นให้มีการสร้างเสริมสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. รับสมัครสมาชิกจิตอาสา จำนวน 30 คน (ม.1,2,3,6,9) 2. จัดประชุมชี้แจงจิตอาสาเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
3. จัดทำทะเบียนติดตามหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็ก 0-5 ปี แก่จิตอาสา /อสม. 4. จัดเตรียมเอกสารและสื่อความรู้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในชุมชน ชั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูทักษะการเยี่ยมบ้านมารดาและเด็ก แก่อาสาสมัครสาธารณสุข/จิตอาสา (ชมรมนมแม่) 1.1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องให้ความรู้เรื่องการเยี่ยมมารดา ทารก การประเมินหลังจากกลับจากโรงพยาบาลโดยจิตอาสาประจำหมู่บ้าน
1.2 สอนทักษะ การตรวจ ประเมินมารดาและทารกหลังคลอด เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว วัดรอบศีรษะ ตรวจเต้านม ประเมินการไหลของน้ำนม 1.3 ฝึกทำบันทึกการเยี่ยมบ้าน 2.กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงทารกคลอด นน.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมจิตอาสา/อสม.แม่และเด็กในชุมชนมีความรู้ในการให้บริการดูแลสุขภาพเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถดูแลคนในชุมชนได้อย่างครอบคลุม 3.ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงการบริการเชิงรุกถึงที่บ้านและมีความพึงพอใจต่อการรับบริการ 4.หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัยมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 13:30 น.