กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4150-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และลดภาวะแทรกซ้อนให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่จำนวน 4 หมู่บ้าน ในปี 2560 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 274 รายมีภาวะโรคแทรกซ้อน 51 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน100 รายมีภาวะแทรกซ้อน 15 ราย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 23 ราย มีผู้ป่วยเข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ จำนวน 102 ราย โรความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคได้จำนวน 158 คนคิดเป็นร้อยละ 64.23 โรคเบาหวาน ควบคุมโรคได้จำนวน 33 คนคิดเป็นร้อยละ 34.74 จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน ชุมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ โครงการ
  2. สำรวจข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งคีย์ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในโปรแกรมJhcis
  3. ให้บริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยเบาหวาน • ตรวจจอประสาทตา ด้วยFundusCamera • คัดกรอง ไต โดยการตรวจ microalbuminuria • คัดกรอง ตรวจระบบประสาทรับความรู้สึก • ตรวจคัดกรองช่องปากและฟัน • ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง • คัดกรอง ไต โดยการตรวจ microalbuminuria • ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) • ติดตามการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง
  4. แยกประเภทกลุ่มผู้ป่วยตามปิงปอง 7 สี เป็น 5 ระดับ ดังนี้ • ระดับ0 (สีกลุ่มป่วยเขียว) แลตนเองได้ FBS≤125mg/dl BP≤ 139/89mm.hg • ระดับ1 รุนแรงน้อย(สีเหลือง) FBS=126-154mg/dl BP= 140/90- 159/99mm.hg • ระดับ2 รุนแรงปานกลาง(สีส้ม) FBS=155-182mg/dl BP= 160/100 - 179/109mm.hg • ระดับ3 รุนแรงมาก(สีแดง) FBS ≥183mg/dl BP≥180/110mm.hg • ระดับเกิดภาวะแทรกซ้อน (หัวใจ หลอดเลือดสมอง ตา ไต เท้า)
  5. ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนผลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนให้กับกลุ่มป่วยและญาติทราบ
  6. จัดระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเพื่อรับการรักษาและให้มีการติดตามการนัดหมายต่อเนื่อง ดูแลสภาพจิตใจหรือช่วยเหลือปรับสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูสมรรถภาพรวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. จัดอบรมให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยระดับ 0,1, หรือผู้ดูแล เพื่อสร้างทักษะการดูแลตนเองและดำเนินกิจกรรม “เพื่อน Take เพื่อน”
  8. จัดกิจกรรมกรณีศึกษาเป็นรายบุคคลในกลุ่มป่วยระดับ 2,3.และกลุ่มเกิดภาวะแทรกซ้อน
  9. จัดกิจกรรมติดตามการดูแลผู้ป่วยรายกรณีที่บ้านโดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และกิจกรรมการวัดความดันที่บ้าน(HBPM)สำหรับกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้
  10. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังทุกรายโดย นสค.ประจำหมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงได้ตามเกณฑ์
  2. กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับบริการตรวจภาวะแทรกซ้อนตาม
    มาตรฐานเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. ภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดัน ลดลง หรือไม่เกิดเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 10:27 น.