กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กลากอโตไปฟันไม่ผุ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4150-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนโดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดีช่วยเสริมคุณภาพชีวิต ซึ่งเป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยปี 2563 ระบุว่า “คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บดเคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต” การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หากฟันได้รับการดูแลอย่างดีเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปากไม่มีโรคในช่องปากไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดแม้โรคในช่องปากจะเป็นโรคซึ่งไม่ได้ติดต่อร้ายแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากความเจ็บ ปวดซ้ำซาก จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหาปี 2560 พบว่า เด็กอายุ 18 เดือน พบว่ามีค่าปราศจากฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 80.61 แต่เมื่อเด็กอายุ 3 ปีมีค่าปราศจากฟันแท้ผุร้อยละ 50.84 จากสภาวะฟันผุในฟันน้ำนมมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นควรได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเด็กลากอโตไปฟันไม่ผุ ปี 2561 ขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมและป้องกันพฤติกรรมทันตสุขภาพ ที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มอายุโดยเฉพาะการเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และส่งเสริมกิจกรรมด้านทันตสุขภาพโดยเน้นการแปรงฟันอย่างถูกวิธี กิจกรรม 1. จัดประชุม จัดประชุม ชี้แจงผู้รับผิดชอบ ผู้ประสานงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานของโครงการ 2. จัดหากลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน 3. จัดทำตารางการปฏิบัติงานที่สถานบริการ 4. ขออนุมัติดำเนินการโครงการ 5. จัดซื้อถุงนิ้วทำความสะอาดช่องปากในคลินิกเด็กดี
6. มอบถุงนิ้วทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี 7. รณรงค์ จัดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลช่องปากโดยเน้นการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ในเด็ก(0-2ปี ) 8. จัดกิจกรรมตรวจฟันและสาธิตการแปรงฟันอย่างถูกวิธีในเด็ก (0-2ปี) 9. จัดกิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์วานิชในคลินิกบริการ 10. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่มีภาวะเสี่ยงสูง 11. ติดตามประเมินผล

กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างแกนนำ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชน โรงเรียนตระหนักถึงโรคในช่องปาก และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก กิจกรรม 1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปาก และโรคในช่องปากที่พบบ่อยในเด็ก 0-2 ปี พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ โดยการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์ หอกระจายเสียงโรงเรียน ฯลฯเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างถูกต่อเนื่อง และยั่งยืน 2.สร้างแกนนำใส่ใจสุขภาพช่องปากโดยคัดเลือกจากครอบครัวที่มีฟันดี 3.ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิชในเด็กอายุ 9 เดือน และ18 เดือน นอกสถานบริการ กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริม ป้องกันโรคในช่องปาก เชิงรุกในและนอกสถานบริการ กิจกรรม
1. ติดตาม เยี่ยมบ้าน เด็กอายุ 0-2 ปีในเขตรับผิดชอบของรพ.สต บ้านลากอ เพื่อตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิชพร้อมสาธิตการแปรงฟันอย่างถูกวิธี 2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดย จนท.ร่วมกับ อสม. 3. สรุปผล

กลยุทธ์ที่ 4 การควบคุมกำกับ และการประเมินผล กิจกรรม
1. ติดตามผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน 2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข 3. สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ถูกต้องตามวัย
  2. เด็กปฐมวัยที่มีฟันผุระยะเริ่มแรกลดลงหลังได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 10:37 น.