กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 42,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านการจัดการขยะเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคส่งผลให้ปัญหาขยะแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณา ถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย เริ่มต้นด้วย การสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่น ๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันรูปแบบการจัดเก็บและการกำจัดของชุมชนในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง ตำบลกำแพง ยังไม่เป็นระบบ ขาดการบูรณาการ การกำจัดขยะมูลฝอยในชุมชนส่วนใหญ่ยังใช้วิธีเผาทิ้งแบบไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค คือ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง และสถานการณ์โรคในพื้นที่หมู่ที่ ๑๐ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ สถานการณ์ไข้เลือดออก อัตราป่วยต่อแสนประชากร 466.72, 746.27 และ 93.28 ตามลำดับเพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะในชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลงและหมดไปในอนาคต เช่น เศษอาหารมีทุกครัวเรือน แต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพได้ สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและหันมาใช้ปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพในพืชผลการเกษตร ทางคณะผู้จัดทําได้ตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน โดยมีการสร้างแกนนำครัวเรือนต้นแบบ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อที่มีพาหะนำโรคโดยอาศัยการแพร่พันธุ์ในกองขยะ และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนต่อไปโดยเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล การคัดแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะแบบ3Rs การสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร/ขยะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
  • อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง
    ร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้
  • ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้
80.00
3 3 เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดบ้านเรือนในชุมชนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
  • บ้านเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและจัดบ้านเรือน สิ่งแวดล้อมรอบบ้าน ให้ถูกหลักสุขาภิบาล
60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องขยะ 300 0.00 0.00
10 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพแก่แกนนำในชุมชน 150 35,860.00 35,860.00
19 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน 300 0.00 0.00
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล 300 0.00 0.00
10 ก.ค. 61 - 10 ก.ย. 61 กิจกรรมติดตามผล 300 6,000.00 6,000.00
14 - 20 ก.ย. 61 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
รวม 1,350 42,860.00 6 42,860.00

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพแก่แกนนำในชุมชน - บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง - บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs - สอน/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพแก่แกนนำในชุมชน

กิจกรรมที่ 2รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือนดังนี้ 2.1 การจัดการตามหลัก 3Rsได้แก่
- Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ - Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ - Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้วยกระบวนการต่างๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่ 2.2 การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ ดังนี้ - ขยะทั่วไป ได้แก่ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น - ขยะย่อยสลายได้ ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น - ขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติกเศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม ถุงก็อบแก๊บ เป็นต้น - ขยะอันตราย ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น

กิจกรรมที่ ๓ รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล -การรณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล -การประกวดครัวเรือนตัวอย่าง

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องขยะ
- ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชน หลังละหมาดวันศุกร์เป็นต้น

กิจกรรมที่ 5 ติดตามผล - ติดตาม สุ่มประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครัวเรือน จำนวน 3 เดือน/ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีอัตราการป่วยลดลง
  2. ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพได้
  3. บ้านเรือนในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลและมีสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 10:57 น.