กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้นำวัคซีนเข้มแข็ง
รหัสโครงการ 61-L4150-1-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 87 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุดบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ98.78 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 89.91 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 87.74 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 90.96ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 91.35 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลยุทธ์และวิธีการดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างแกนนำครอบครัว การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการจัดนิทรรศการ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบของการไม่ได้รับวัคซีน กิจกรรม 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ทำตารางวัคซีนติดตามสถานที่สำคัญของชุมชน หอกระจายเสียงโรงเรียน เดินรณรงค์ ฯลฯและจัดนิทรรศการ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างถูกต่อเนื่อง และยั่งยืน 2. อบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่อง โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และถอดบทเรียนในการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยกลุ่มแกนนำต่างๆในทุกหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นในเขตรับผิดชอบ  จัดทำเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ  ประสาน กลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่  ดำเนินการอบรมตามตารางอบรม จำนวน 1 วัน  สรุปผล 3. จัดหาและทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ แผ่นพับภาพพลิกและวีดีทัศน์ โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด

กลยุทธ์ที่ 2 การเยี่ยมบ้าน ติดตามในเชิงรุก
กิจกรรม 1. ขึ้นทะเบียนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทุกราย ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ 2. จัดทำแผนการเยี่ยมบ้าน และเยี่ยมติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีให้มารับวัคซีน โดย จนท.ร่วมกับ อสม. 3. อสม./แกนนำ/จนท.ติดตามเด็กมารับวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ กลยุทธ์ที่ 3การควบคุมกำกับ และการประเมินผล กิจกรรม 1. ติดตามผลการดำเนินงาน 2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข 3. ติดตามผลงานการรับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค และสรุปผลงานทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำชุมชนมีความกระตือรือร้นและให้ความสำคัญเรื่องวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีรับวัคซีนตามเกณฑ์ 3.อัตราการมารับบริการวัคซีนเด็ก 0-5 ปี เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 11:30 น.