โครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ
ชื่อโครงการ | โครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ |
รหัสโครงการ | 61-L5273-5-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
วันที่อนุมัติ | 14 พฤศจิกายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.007,100.296place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย หมอกควันจากเผาป่า หรือมลพิษต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชน หรือโรคติดต่อที่เกิดจาภัยพิบัติ เช่น โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วม โรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ อาทิ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออกโรคติดเชื้อไวรัสซิกาโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้สมองอักเสบเป็นต้น หรือแม้แต่โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สาเหตุเนื่่องจากมีการเปลี่ยนแปลปัจจัยที่เกี่ยวข้องทำให้เสียสมดุลและเกิดเป็นโรคได้ ดังนั้น เพื่อการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และป้องกันการเกิดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซำ้หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นโรคประจำถิ่นไว้ก่อนทีา่จะะเกิดการแพร่ระบาดเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการเฝ้าระวังโรคซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดตามสถานการณ์ แนวโน้ม และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเมื่อมีระบบเฝ้าระวังที่ดีก็จะส่งผลให้มีการโต้ตอบป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2552 มาตรา 67 ที่ อบต.มีอำนาจหน้าที่จัดทำสามารถจำแนกได้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และอำนาจหน้าที่ของ อปท. ตามมาตรา 16 มาตา 17 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนั้นเพื่อเตรียมการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติและป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือทางด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ประจำปี 2561 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัางป้องกันการรควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้รวดเร็ว และให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนได้ทันท่วงที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อ 1.เพื่อเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสถานการณ์ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ประชาชนผู้ประสบภัยโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ได้รับการดูแลสุขภาพ |
0.00 | |
2 | ข้อ 2.เพื่อควบคุมโรคการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินที่ประชาชนประสบปัญหาภัยพิบัติ การระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินที่ประชาชนประสบปัญหาภัย ลดลง ประชาชนไดรับการแก้ไขปัญหาสุขภาพ |
0.00 | |
3 | ข้อ 3.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยพิบัติ หรือโรคระบาดได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยพิบัติ หรือโรคระบาดได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 44.00 | 0 | 0.00 | 44.00 | |
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 | 1.ประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมความพร้อม | 0 | 40.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 | 2.ดำเนินการออกป้องกันและควบคุมโรค | 0 | 4.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 44.00 | 0 | 0.00 | 44.00 |
1.ประชุมชี้แจง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบภารกิจ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการออกป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู4.ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคหรือ ผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติ5.ประสานแผนการดำเนินงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง6.ติดตามเฝ้าระวังจุดเกิดโรคเพื่อควบคุมป้องกันกำกับและติดตามค้นหาผู้ป่วย7.ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล
1.สามารถเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสถานการณ์ที่ประสบปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ได้2.สามารถควบคุมโรคการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินที่ประชาชนประสบปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 14:21 น.