โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส |
รหัสโครงการ | 61-L7885-2-71 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.ชุมชนเมาะสือแม |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 60,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเจ๊ะอัสนะห์สาเมาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 480 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจชุมชน ของคณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ทั้ง 6 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนวัดบางนรา ชุมชนกูแบบาเดาะ ชุมชนรายอบือรากะ ชุมชนฮูยงตันหยง ชุมชนมัตยามัน และชุมชนเมาะสือแม พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ต้องได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น คณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทั้ง 6 ชุมชน จึงร่วมกันจัดให้มีโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้อสม. และผู้นำชุมชนในชุมชนวัดบางนรา ชุมชนกูแบบาเดาะ ชุมชนรายอบือรากะ ชุมชนฮูยงตันหยง ชุมชนมัตยามัน และชุมชนเมาะสือแม เกิดการเรียนรู้แนวทางการกำหนดปัญหาและการดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน อสม.และผู้นำชุมชนในชุมชนวัดบางนรา ชุมชนกูแบบาเดาะ ชุมชนรายอบือรากะ ชุมชนฮูยงตันหยง ชุมชนมัตยามัน และชุมชนเมาะสือแม เข้าร่วมประชุมและร่วมกันกำหนดแนวทางการกำหนดปัญหาและการดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน อย่างน้อยร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ประชาชนในชุมชนวัดบางนรา ชุมชนกูแบบาเดาะ ชุมชนรายอบือรากะ ชุมชนฮูยงตันหยง ชุมชนมัตยามัน และชุมชนเมาะสือแม เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 60 |
60.00 | |
3 | เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นำองค์ความรู้ที่ได้ไปให้บริการทางวิชาการได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินด้านความรู้หลังเสร็จสิ้นโครงการอย่างน้อยร้อยละ 60 และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปให้บริการทางวิชาการได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของชุมชน |
60.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
……1. วินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้ง 6 ชุมชน ประกอบด้วย
1.1 การสำรวจปัญหาสุขภาพชุมชน โดยสำรวจครัวเรือน ประมาณ 80-100 หลังคาเรือนโดยใช้แบบสำรวจ จปฐ. ร่วมกับแบบฟอร์ม Family folder และสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น ประกอบด้วย แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิตบุคคลสำคัญในชุมชน
1.2 กำหนดปัญหาสุขภาพชุมชน โดยสรุปขนาดของปัญหาจากข้อมูลที่สำรวจได้ทั้งหมด
1.3 จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และวางแผน/จัดทำโครงการการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ
โดยจัดประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
1.4 ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน โดยเน้นการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ และดำเนินการจัดการกับปัญหาสุขภาพของชุมชนที่ตรงตามปัญหาและความต้องการของชุมชนตามแผนที่วางไว้
1.5 ประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
- ชุมชนเกิดการเรียนรู้แนวทางการกำหนดปัญหาและสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนได้
- ประชาชนในชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปให้บริการทางวิชาการได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 14:49 น.