กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 2561-L7572-1-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทิยา พานิชายุนันท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและมีความสำคัญต่อการป่วย พิการและตายก่อนวัยอันควรจำนวนมาก ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยพบว่าจากการคาดประมาณการสูญเสียรายได้จากผลผลิตประชาชาติ (GDP) ของประเทศไทยจากหัวใจ อัมพาต และเบาหวาน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมาณ ๔,๒๐๐ ล้านบาท และในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า พ.ศ. ๒๕๕๘ (หากยังคงมีการเพิ่มของปัญหาเช่นเดียวกับเมื่อก่อนปี พ.ศ.๒๕๔๗) จะมีการสูญเสียสะสม เป็นประมาณ ๕๒,๑๕๐ ล้านบาท จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๕๐พบอัตราการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น จากปี ๒๕๔๐ ทุกโรค ดังนี้ ๑. โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้น ๔.๙๕ เท่า ๒.โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น ๔.๔๐ เท่า ๓.โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น ๕.๓๕ เท่า และ ๔. โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น ๒.๗๕ เท่า นโยบายด้านสาธารณสุข รัฐบาลมุ่งเน้นในการปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับพัฒนาบทบาท อสม.ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เปลี่ยนจากงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับ มาเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพเชิงรุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบบริการสุขภาพในภาพรวม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปริมาณผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปใช้บริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ลดลง ลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางของประชาชน อีกทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติในระยะยาว
เขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 594 คน โดยเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ จำนวน295 คน คิดเป็น ร้อยละ 49.66 ซึ่งพบว่าควบคุมโรคไม่ได้ มีค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) > 7 % จำนวน 207 คนคิดเป็นร้อยละ 71 (เกณฑ์น้อยกว่า 60)ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการบริการและได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้องส่งเสริมการดูแลตนเอง และญาติของผู้ป่วย แบบองค์รวม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบมีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง และสถานบริการ

 

0.00
3 เพื่อประเมินผลการดูแลรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงโดยมีการติดตามค่าน้ำตาลในเลือดสูงด้วยตนเอง

 

0.00
4 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านอย่างต่อเนื่อง

          ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง ที่ควบคุมโรคไม่ได้ มีค่า HbA1C < 7 %  ลดลงร้อยละ  60 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,050.00 1 15,857.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดอบรมให้ความรู้ ติดตามผล 0 19,050.00 15,857.00

กิจกรรมที่ ๑ - ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม.ผู้รับผิดชอบงานศูนย์แพทย์ชุมชน ดอนยอ โรงพยาบาลพัทลุง - จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย - ประชาสัมพันธ์ให้พื้นที่ทราบ กิจกรรมที่ ๒ - จัดอมรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแล - จัดอมรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ (HbA1C > 7 %) กิจกรรมที่ ๓ - พยาบาลติดตามการเจาะเลือดหลังอาหารวันละ 4 มื้อ เป็นเวลา 3 วันต่อเนื่องกันภายใน 1 สัปดาห์ ต่อไปตรวจติดตามมื้อที่มีปัญหา เป็นเวลา4สัปดาห์ โดยเสริมแรงและเพิ่มศักยภาพผู้ป่วยและผู้ดูแล - ปรึกษาแพทย์ดูผลทางห้องปฏิบัติการร่วมกับแบบบันทึกการติดตาม - ส่งพบแพทย์กรณีต้องปรับยา

กิจกรรมที่ ๔ ประเมินผลโครงการ - เจาะเลือดติดตามค่า (HbA๑C)หลังเข้าโครงการ ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ มีค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ลดลง ร้อยละ 60

2ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง สามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 15:13 น.