กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมใจลดอ้วน ลดโรค ตำบลคลองรี ปี พ.ศ.2561
รหัสโครงการ 61-l5235-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานเครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ค่านิยมในการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตกตามกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนิยม โดยผ่านสื่อต่างๆ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารโปรตีน อาหารรสหวาน อาหารเค็มและไขมันสูงที่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ล้วนๆ อาหารรสจัด เช่นมันจัด หวานจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกายโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงคนวัยสูงอายุทำให้พลังงานในร่างกายไม่สมดุลกันระหว่างการได้รับเข้ามากับการใช้ไป ร่างกายจึงเปลี่ยนพลังงานที่เหลือใช้กลับไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เป็นโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนสามารถส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆหลายโรค เช่นโรคอ้วนลงพุง เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนจำพวกโรค ไม่ติดต่อที่เรียกว่า เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจ เกิดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรักษาการเจ็บป่วย โรคอ้วนลงพุงจึงนับเป็นมหันตภัยเงียบด้านสุขภาพที่กำลังคุกคามคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย เพราะส่งผลกระทบในทุกมิติ ทั้งตัวบุคคล สังคม และประเทศ
จากการสำรวจค่าดัชนีมวลกายของประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลคลองรีในปี 2556 จำนวน1,528คน พบ ค่าดัชนีมวลกายเกิน 40(โรคอ้วนขั้นสูงสุด) จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 0.85 ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 35.0-39.9(โรคอ้วนระดับ 2) จำนวน 24 คนคิดเป็นร้อยละ 1.57 ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 28.5-34.9(โรคอ้วนระดับ 1) จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ9.88 ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 23.5-28.4(น้ำหนักเกิน) จำนวน 535 คน คิดเป็นร้อยละ 35.01 ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-23.4 (น้ำหนักปกติ) จำนวน 647 คน คิดเป็นร้อยละ 42.34 ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5(น้ำหนักน้อยเกินไปหรือผอม) จำนวน 158 คิดเป็นร้อยละ10.34 จะเห็นได้ว่าอัตราโรคอ้วน ในตำบลคลองรี ที่มีอัตราที่สูง หากไม่รีบควบคุมและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดนิ่วในถุงน้ำดี และมะเร็ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจึงควรมีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานให้สมดุลกัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ พิชิตอ้วน พิชิตพุง เพื่อให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินที่ถูกต้อง เน้นที่การปฏิบัติโดยส่งเสริมให้ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ตลอดไปผลสำเร็จของการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเกิดผลลัพธ์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่ค่าดัชนีมวลกายเกินตั้งแต่ 35.0-มากกว่า40 ในตำบลคลองรีได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถลดน้ำหนักตัวเองได้

-ร้อยละ 60 ประชาชนที่ค่าดัชนีมวลกายเกินตั้งแต่ 35.0-มากกว่า40 ในตำบลคลองรีได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถลดน้ำหนักตัวเองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายลดพุงตำบลคลองรีและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและร่วมวางแผนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณจากกองทุนประกันสุขภาพตำบลคลองรี 3.เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนประกันสุขภาพตำบลคลองรีเพื่อให้พิจารณาในการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการ 4.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทุกคน 5.คัดเลือกแกนนำในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน 6.จัดทำแบบประเมินติดตามพฤติกรรมสุขภาพ 7.อบรมพัฒนาแกนนำให้มีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถให้กลุ่มเป้าหมายลดน้ำหนักได้
8.แกนนำ 1 คนรับผิดชอบดูแลคนอ้วน 2 คนให้แกนนำกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลและจัดทำทะเบียนให้ชัดเจน 9.แกนนำทุกคนออกติดตามให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย และบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแบบประเมินและบันทึกค่าน้ำหนักทุกครั้ง โดยกำหนดให้ออกติดตาม เดือนละ 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 1 ปี 10.ประชุมแกนนำทุก 3 เดือนเพื่อติดตามความก้าวหน้าและค้นหาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่อง จนครบ 1 ปี 11.ประเมินผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 12.สรุปผลการดำเนินงาน มีผลลัพธ์ที่สำเร็จในการดำเนินงาน และพบปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง
13.รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดภาวะเสี่ยงการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากสาเหตุจากปัจจัยโรคอ้วนได้ 2.ได้แนวทางในการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชาชนที่อ้วน ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2561 11:02 น.