ปลอดลูกน้ำ ปลอดภัย ปลอดไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | ปลอดลูกน้ำ ปลอดภัย ปลอดไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 2561-L7572-02-010 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.ชุมชนควนปรง และอสม.ชุมชนบ้านพระยาช่วย |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 18,125.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรรณี ยกฉวี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย เพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยจากทุกภาคเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และโรคนี้มักระบาดมากในฤดูฝนเพราะมียุงลายชุกชุม
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไข้เลือดออกเด็งกีซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป โรคไข้เลือดออก มักติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งมียุงลายเป็นตัวพาหะที่สำคัญ (Aedes aegypt) โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี จากนั้นเชื้อจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุงลาย ทำให้มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวของยุงตลอดระยะเวลาของมันประมาณ 1 - 2 เดือน แล้วถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักออกกัดเวลากลางวัน มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำนิ่งที่ขังอยู่ในภาชนะเก็บน้ำต่างๆ อาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือกระถาง เป็นต้น ซึ่งโรคไข้เลือดออก พบโดยมากในฤดูฝน เนื่องจากในฤดูนี้เด็กๆ มักจะอยู่บ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ อีกทั้งยุงลายยังมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน
จากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของชุมชนควนปรง ในปี 2558 มีผู้ป่วย 1 ราย ปี 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 รายปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย และชุมชนบ้านพระยาช่วย ในปี 2559 มีผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งสองชุมชนนี้มีพื้นที่ติดกัน จะเห็นว่าในชุมชนยังมีผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น ชุมชนบ้านควนปรงและชุมชนบ้านพระยาช่วย ได้ร่วมกันได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และป้องกันสาเหตุการเกิดโรคต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index≤10) |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนชนลดลง ≥50 % |
0.00 | |
4 | ข้อที่ 4 เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งเป็นแหละเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 18,125.00 | 2 | 18,085.00 | 40.00 | |
1 มิ.ย. 61 | ประชุมแกนนำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน | 0 | 625.00 | ✔ | 625.00 | 0.00 | |
24 มิ.ย. 61 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก/เดินรณรงค์ แจกแผ่นพับและทรายอะเบทในชุมชน | 0 | 17,500.00 | ✔ | 17,460.00 | 40.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 18,125.00 | 2 | 18,085.00 | 40.00 |
- จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
- ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนแก่ อสม. และผู้นำชุมชน
- จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสม
- เดินรณรงค์ และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและแจกทรายอะเบท
- อสม. ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
- ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
1 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง 2 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 3.ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2561 14:30 น.