โครงการเด็กปุลากง เด็ก Smart kids ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กปุลากง เด็ก Smart kids ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-3039-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง |
วันที่อนุมัติ | 6 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 70,030.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลปุลากง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.782,101.353place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กลง เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น บิดา-มารดาต้องออกไปทำงานมากขึ้น ทำให้ขาดผู้ดูแลเด็ก เด็กบางรายต้องอาศัยอยู่กับตายาย นอกจากนั้นแล้ว สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่างานในบ้านและทำงานนอกบ้าน ควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วย ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง ยิ่งถ้าเป็นช่วงที่มีครรภ์ บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ อีกทั้งปัจจุบัน พบว่า ทารกหลังคลอดมักถูกมารดาทิ้งให้อยู่ในความดูแลของญาติหรือผู้สูงอายุในบ้านส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาภาวะสุขภาพต่างๆ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักน้อย เด็กผอมขาดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ขาดฉีดวัคซีน) ฟันพุก่อนวัย รวมถึงปัญหาการศึกษาของเด็ก ซึ่งอาจจะส่งผลถึงอนาคตของเด็กด้วย จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง และตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ย้อนหลัง 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2556-2560) พบว่า ปัญหาที่ยังพบเจอได้ในทุกๆปี คือ การฝากครรภ์ล่าช้า (ก่อน 3 เดือน/Late ANC) หญิงตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 20 ปี(Teenagnancy) ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์(Anemia)ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม (Low birth weight)เด็กอายุ 6 เดือน มีภาวะโลหิตจาง มากกว่าร้อยละ 50 ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีเด็กผอม และเตี้ย (Malnutrition) จำนวนไม่น้อย ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าว มาจากการดูแลตัวเองของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ตอนท้อง การขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนา่การที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีการพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลการสำรวจ IQ (รายงานระดับจังหวัด) เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า IQ เฉลี่ยแล้วต่ำของประเทศและเรื่องของวัคซีนพบว่า ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับวัคซีนที่ล่าช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบว่า เด็ก 0-5 ปีมีปัญหาฟันผุเยอะมาก เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่แปรงฟันและการดูแลช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งแนวทางการดูแลและป้องกันปัญหาดังกล่าว คือ ต้องสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ปกครอง ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพเสริมสร้างทักษะการดูแลหลังคลอด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย และการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เข้มแข็ง ด้วยเหตุนี้ ทางทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากงและทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และตระหนักถึงคววามสำคัญของการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายที่ดี เข้มแข็งการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการ "เด็กปุลากง เด็ก Smart kids ปี 2561 "เพื่อส่งเสริมและสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และการพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี พร้อมส่งเสริมในเรื่องการ กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าระวังสุขภาพช่องปากและฟัน และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่เด็ก เพื่อสร้างเด็กปุลากงดี 10อย่าง เด็กมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสตามวัย เป็นพลเมืองที่สร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตและยังเป็นการสร้างสายใยรักความผูกพันของครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 2.1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และสามี หรือญาติมีความรู้ความเข้าใจดูแลตนเองและมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนครอบครัวมีความรู้และมีบทบาทสำคัญในการร่วมมือให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด 1.ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(Early ANC) >80% 2.โลหิตจาง Anemai<10%(Lab ครั้งที่ 1) และ< 50% (Lab ครั้งที่ 2) 3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์>60% 4. น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่า 2500 กรัม (Low birth weight) <7% |
90.00 | |
2 | 2.2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขี้น ไม่ผุก่อนวัย 1.มีโภชนาการตามเกณฑ์>82% 2.มีพัฒนาการสมวัย >90% 3.ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์>90% 4.เด็กอายุ 18 เดือน-2 ปี 11 เดือน 29 วัน ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ปีละ 2 ครั้ง >40% |
100.00 | |
3 | 2.3 เพื่อส่งเสริมให้เมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก 1.เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช>60% 2.เ็กอายุครบ 3 ปี มีฟันน้ำนมไม่ผุ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี |
100.00 | |
4 | 2.4 เพื่อสร้างกระแสสังคมให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
3.1 จัดประชุมทีมสุขภาพ และอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้านเพื่อร่วมกันค้นหา แนงทางการปัญหาเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็ก งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค งานทันตกรรม และงานโภชนาการ/พัฒนาในปีงบประมาณที่ผ่านมา 3.2 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ 3.3 ประชาสัมพันธ์โครงการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามมัสยิด และในชุมชนทั้งตำบลปุลากง 3.4 ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการดังนี้ 3.4.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ "การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การเตรียมตัว และการฝากครรภ์อย่างปลอดภัย"ในกลุ่มเด็กอายุ 12-18 ปี 3.4.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ ในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ครั้งที่ 1 เดือนละ 1 ครั้ง (12 ครั้ง/ปี) 3.4.3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง "วัคซีน" ในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 3.4.4 กิจกรรมส่งเสริมการดูแลด้านสุขภาพช่องปาก ดังนี้ 3.4.4.1 กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์วานิชในเด็ก ประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ม.1 และ ม.2 ตำบลปุลากง 3.4.4.2 กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์วานิชในเด็ก 0-3 ปีในหมู่บ้าน 3.4.4.3 กิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันอย่างถูกวิธีในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.5 ประเมินผลโครงการและสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและกองทุนตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จ มีคุณภาพและยั่งยืน รวมทั้งหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลในระยะการตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดอย่างมีคุณภาพและในรายที่มีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการของรัฐตามมาตรฐานการส่งต่อ ตลอดจนส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้คลอดกับสถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น เพื่อให้มารดาและทารกนั้นคลอดอย่างปลอดภัย และช่วยลดอัตราตายในมารดาและทารก อีกทั้งเพื่อสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กที่จะเกิดมาในอนาคตได้รับการดูแลที่ถูกวิธี เพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต และยังเป็นการสร้างสายใยรักความผูกพันของครอบครัวอีกด้วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2561 15:31 น.