กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากนํ้า ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5312-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากนํ้า
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 17 กันยายน 2561
งบประมาณ 106,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารัญย์ มัจฉา
พี่เลี้ยงโครงการ อนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.834,99.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราตาย ๘๕.๐๔ ,๓.๖๔ , ๕๕.๒๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.๒๕๕๐)และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ ๑ ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี๒๕๕๐ พบว่าคนไทยมีเพียง ๕ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า๑๕ปีโดยเก็บจากประชากรกลุ่มอายุ ๑๕ปีขึ้นไป จำนวน๖,๗๐๕คนพบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ ๕.๙๗และ๔.๕๖ วันต่อสัปดาห์ตามลำดับมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง ๒ กระบวนการได้แก่ ๑. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละ อย่างน้อย ๓๐ นาที๒. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ ๒๐-๓๐โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกันทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย จากผลการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำในปีงบประมาณ ๒๕61 ที่ผ่านมาพบว่าประชากรที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 2,619 คน พบว่าประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง442 คนคิดเป็นร้อยละ 16.88 แยกรายหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านปากบารา 327 คน หมู่ที่ 4 บ้านตะโละใส 78 คน หมู่ที่ 5 บ้านท่ายาง 9 คน หมู่ที่ 6 บ้านท่ามาลัย 23 คน และหมู่ที่ 7 บ้านท่าพยอม 5 คน
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำจัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรัง ขึ้น ตามหลัก ๓อ.๒ส.ในพื้นที่หมู่บ้านหมู่ที่ ๒ บ้านปากบารา เนื่องจากมีประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง มีพฤติกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปและลดอาหารไขมันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดลงเกิดกลไกคณะทำงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หมมู่บ้านเป้าหมาย คือ หมู่ที่2 บ้านปากบารา ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 100 คน
  • หมู่2 บ้านปากบารา เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น
0.00
2 2. อสม. หมู่2 บ้านปากบารา จำนวน 20 คน
  • อสม. หมู่ 2 บ้านปากบารา มีความรู้ในกระบวนการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,200.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดทำแผนแก้ไขปัยหาโรคเรื้อรัง จำนวน 100 คน 0 34,000.00 -
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมติตามการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรั้งในประชากรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 3 ครั้ง 0 11,100.00 -
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน 0 4,700.00 -
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมมหกรรมสุขภาพดี ตามวิถีชุมชนบ้านปากบารา 0 49,400.00 -
  1. การประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในส่วนกลาง ทั้งในและนอกดรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลปากนํ้า คือโรงพยาบาลละงู หน่วยงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มองค์กรเอกชนในพื้นที่ อาจารย์ โรงเรียน และ อสม . ในตำบลปากนํ้า ที่เกี่ยวข้องมีกิจกรรมดังนี้ 1.1ประชุมชี้แจ้งความร่วมมือการดำเนนินโครงการ หมุ่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรัง แก่คณะกรรมการหมู่บ้านต้นแบบร่วมกับเจ้าหน้าที่ ภายใน รพ.สต. ปากนํ้า 1.2 จัดทำโครงการ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรัง 1.3 จัดทำแนวทางการพัมนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรค ืื1.3.1 ทำประชาคมประชากรในหมู่ที่ 2 บ้านปากบารา เพื่อกำหนดประเด็นเนื้อหาแนวทาง และนโยบายร่วมกันระหว่างประชาชนในหมู่บ้าน 1.3.2 จัดทำเอกสารแนวทาง เพื่อเยแพร่ 3 เรื่อง 1.3.3 กำหนดสถานที่ออกกำลังกายและสถานที่ศูนย์กลางในการทำกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรังปรำจำตำบลปากนํ้า 1.4 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยใช้หลัก 3อ.2ส. 1.5 ประชุมเพื่อประเมินนติดตามโครงการจำนวน 3ครั้ง ทุก 1 เดือน 2.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแส และการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระกนักในการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรมสุขภาพตลอดจนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และจัดปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยน 2.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคเรื้อรัง 2.1.1สื่่อบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล ให้ความรู้ 2.1.2 เผยแพร่ทางเสียงตามสายของตำบล
  2. จัดทำรายงาน สรุปผลโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกำลังกาย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หมู่ 2บ้านปากบารา เป็นหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส.
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ภาคีเครื่อข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2561 14:13 น.