กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาสุขภาวะของเยาวชนและชุมชนบ้านเขาจีน
รหัสโครงการ 61-L5300-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านเขาจีน
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 58,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรพร ปานแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนเพิ่มขึ้น
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งเรื่องของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ เช่น ชุมชนเมือง มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดหนาแน่น มีการแก่งแย่ง แข่งขันกันประกอบอาชีพ พึ่งพาเทคโนโลยี จึงทำให้ชีวิตของคนในชุมชนเมืองมีความเร่งรีบ แข่งขันกับเวลาและเกิดความเครียดได้ง่าย ส่วนชุมชนชนบทเป็นชุมชนที่ผู้อาศัยอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัย ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี แต่มีทางเลือกในการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขน้อยกว่าคนในชุมชนเมือง เป็นต้น ชุมชนแต่ละชุมชนของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และลักษณะการดำรงชีวิตของผู้คน เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อากาศร้อน ฝนตกชุก หรือแห้งแล้ง การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ความสนใจ และวัฒนธรรม รวมถึงความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจ รายได้ และระดับของการศึกษา ซึ่งลักษณะของความแตกต่างดังกล่าว ส่งผลต่อการเกิดโรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น ผู้คนในชุมชนเมืองมักเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับความเครียด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้จากสารพิษ โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกาย ส่วนคนในชนบทมักป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการขาดดูแลเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีพอ เช่น การจัดการเรื่องน้ำดื่ม น้ำใช้ การจักการเรื่องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่งผลทำให้เกิดโรคท้องร่วง หรือโรคอหิวาตกโรคเกิดขึ้นได้

การป้องกันโรคเป็นการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนโดยทำให้บุคคลในชุมชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความต้านทานหรือมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้มากที่สุด ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลเรื่องการป้องกันโรคในชุมชนได้ด้วยตนเอง ควรยึดหลักการป้องกันโรคดีกว่าที่จะต้องรอเวลาให้มีการเจ็บป่วยแล้วรักษา ถึงแม้ว่าชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะสภาพแวดล้อม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนก็ตาม แต่ทุกชุมชนก็สามารถเป็นชุมชนสุขภาพดี ได้ตามศักยภาพของตนโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนบ้านเขาจีนมีทักษะชีวิตในการป้องกันโรค

สามารถลดปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนบ้านเขาจีนได้ลง ร้อยละ 10

10.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนในการป้องกันโรค

มีเครือข่ายเยาวชนในการป้องกันโรคบ้านเขาจีน 1 เครือข่าย

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,694.00 2 58,050.00
10 พ.ย. 61 จัดกิจกรรมการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ กิจกรรม ๕ อ ประกอบด้วย อาหาร, อากาศ, อารมณ์, ออกกำลังกาย, อุจจาระ 0 34.00 34,390.00
16 ธ.ค. 61 สำรวจสุขภาวะชุมชน 0 23,660.00 23,660.00

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง มกราคม- กุมภาพันธ์ ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กุมภาพันธ์- มีนาคม ๓.จัดกิจกรรม 3.1 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 3.2กิจกรรม ๕ อ ประกอบด้วย อาหาร, อากาศ, อารมณ์, ออกกำลังกาย, อุจจาระ มีนาคม – เมษายน ใช้เวลา1 วัน 3.3 โครงการสำรวจสุขภาวะชุมชน - สร้างแบบสอบถาม/วิเคราะห์แบบสอบถาม
- จัดทำแผนพัฒนาสุขภาวะของตนเอง มีนาคม –กันยายน ใช้เวลา1 วัน โครงงาน 1 สัปดาห์ 3.4 จัดทำแผนพัฒนาสุขภาวะของตนเองและกลุ่ม มีนาคม –กันยายน 1 เดือน 4. สรุปและรายงานผล ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. มีกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันโรคโดยการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน จำนวน 1 กิจกรรม 2. มีกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการป้องกันโรคติดต่อ 80 คน 3. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนลดลง ร้อยละ 10 ผลลัพธ์ 1. มีกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการป้องกันโรคโดยการสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน 2. สามารถเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายในการป้องกันโรคในชุมชน และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งปลอดภัยจากการระบาดด้วยโรคติดต่อ
3. สามารถลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนบ้านเขาจีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2561 14:54 น.