กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่3 รวมใจ ลดขยะ ลดโรค
รหัสโครงการ 61-L5300-2-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านเกาะนก
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 25,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิดาภา นวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีพฤติกรรมการกำจัดขยะไม่ถูกต้องส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะ คือ สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต การอุปโภค และการบริโภค ซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้ หรือ ไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือเป็นกากของเสีย (Solid waste) ซึ่งขยะสามารถทำให้เกิดมลพิษและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจได้ โดยจำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งขยะทั่วไป และขยะอันตรายจะส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยจะก่อให้เกิดโรคและเป็นเหตุรำคาญ ดังนี้ 1. สารพิษและสารเคมีในขยะอันตราย 2. เชื้อโรคต่างๆที่ทาให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร 3. อันตรายจากขยะติดเชื้อ ที่ทาให้เกิดโรคต่างๆ 4. กลิ่นเน่าเหม็น
5. ก๊าซพิษจากการเผาขยะ 6. สารก่อภูมิแพ้ เกิดได้จากการสูดดมฝุ่นละออง ที่ปลิวฟุ้งกระจายมาจากเศษขยะซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้ในช่องทางผิวหนัง การหายใจ และทางเดินอาหาร
เพื่อเป็นการป้องกัน แก้ไขปัญหา เห็นควรสร้างความตระหนักให้ประชาชนดำเนินการจัดการขยะโดยตนเอง ในระดับครัวเรือน เห็นควรจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ เสริมสร้างการเรียนรู้ในชุมชนและนำสู่การปฏิบัติร่วมกัน ตามหลัก 3 R พร้อมทั้งคัดแยกขยะอันตรายออกจากชุมชนตามศักยภาพของตนโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเอง จากขยะในชุมชน

ร้อยละ 60 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนัก ต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากขยะในชุมชน

60.00
2 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในการคัดแยก และจัดการขยะแต่ละประเภทในชุมชน

สมาชิกร้อยละ 60 ในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนัก ในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์รณรงค์การคัดแยกขยะ และผลกระทบต่อสุขภาพจากขยะ 60 25,780.00 25,780.00
รวม 60 25,780.00 1 25,780.00

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง มกราคม- กุมภาพันธ์ ๒. ติดต่อประสานงาน แกนนำ กุมภาพันธ์- มีนาคม ๓. จัดกิจกรรม 3.1 อบรมให้ความรู้ 3.2 สนับสนุน ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน 3.3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์การคัดแยกขยะมีนาคม – มิถุนายน ใช้เวลา1 วัน 4. สรุปและรายงานผล ภายใน 30 วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักต่อผลกระทบต่อสุขภาพจากขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน จำนวน 60 คน 2. มีเครือข่ายเพื่อการป้องกัน และลดผลกระทบจากขยะในชุมชน จำนวน 1 เครือข่าย ผลลัพธ์ 1. ขยะประเภทต่างๆในชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาล 2. ประชาชนได้รับผลกระทบจากขยะ ทั้งทางด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมลดลง 3. เกิดความร่วมมือภายในชุมชนในการจัดการขยะ และการป้องกันโรคที่เกิดจากขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2561 16:18 น.