กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คนสาธารณสุขร้อยรักรวมใจดูแลคนสูงวัยให้สุขภาพดี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2018
งบประมาณ 54,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสา มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2018 30 ก.ย. 2018 1 ม.ค. 2018 30 ก.ย. 2018 54,500.00
รวมงบประมาณ 54,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานถิติแห่งชาติ 2551) นับเป็นอัตราการเข้าสู่ ภาวะประชากรสูงอายุ เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม อัตราส่วนการเป็นภาวะวัยสูงอายุ หรืออัตราพึงพิ่งวัยสูงในปี 2537 เป็น 10.7 เพิ่มเป็น 14.3 ในปี 2545 และเพิ่มขึ้นเป็น 16.0 ในปี 2550 หมายความว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องรับภาระ ในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 16 คน ประกอบกับสัดส่วนผู้สูงอายุ ที่อยู่ตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้วเพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 6.3 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2550 และร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังในครัวเรือน อยู่ได้โดยไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญหา วึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคืน รู้สึกเหงา ร้อยละ 51.2 ไม่มีคนดูแลเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2551) ผู้สูงอายุต้องการคนดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกาย พบว่า ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลา ร้อยละ 52.2 และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา 10.2 (เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม 2547) จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ โดยเฉพาะ คือ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ พ.ญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ (มส.ผส.) เพื่อสะท้อนถึงการเตรียมความพร้อมของภาครัฐเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่งวดเข้ามาทุกเวลา ปัญหาที่ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้อายุอย่างสมบูรณ์ ในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือปี 2564 ทีจะมีถึง 1 ใน 5 จากที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้ว โดยมีสัดส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 10 % เมื่อปี 2543 (ตามนิยามองค์การสหประชาชาติ) และคาดจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือมากถึง 30% ในอีก 20 ปี หรือ ปี 2578 อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า ร้อยละ 69.3 ของประชากรในกลุ่มอายุ 60-69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเพิ่มขึ้นเป็น 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป โดยภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 6 โรค พร้อมกันถึง 70.8 และหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพจากปัญหาสุขภาพเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ ร้อยละ 18.9 มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้นานกว่า 6 เดือน เป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูงและต้องการคนดูแลตลอดเวลา   จากการจัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใน 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และร้อยละของผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นยอดสะสม แต่ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่และกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง แต่ทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถ้าไม่ได้รับการเฝ้าระวังดูแลอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะก้าวไปสู่ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิ่งได้และรัฐก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ปีละประมาณ 2,000,000 บาท จากการดำเนินงานใน 2 ปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวได้ปรับรูปแบบการดำเนินการดูแลเป็นรูปแบบการจัดมหกรรมคัดกรอง ส่งเสริม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียวให้มีสิ่งจูงใจ และกระตุ้นให้เกิดพลังทางบวกที่จะพัฒนาพฤติกรรมเพื่อลดโรค และความรุนแรงของโรค และเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลหนองบัว ได้รับการดูแลและพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งผู้ป่วยรายใหญ่ลดลง กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่ลดลง   จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่จะดำเนินการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลหนองบัวในรูปแบบการรณรงค์ แต่เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นในปีนี้ จึงได้มีกิจกรรมค้นหาปัญหาสุขภาพและรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเพื่อดูแลผู้สูงอายุตำบลหนองบัวให้อยู่ในสังคมได้ยาวนานขึ้น แต่อยู่ในภาวะพึ่งพิ่งน้อยลง ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างดีได้รับการดูแลจากผู้ใกล้ชิดอย่างมีคุณภาพจึงทำให้สังคมผู้สูงอายุตำบลหนองบัวเป็นสังคมที่มีสุขภาวะได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองค้นหาปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองในสัปดาห์รณรงค์ 400 คน

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับการดูแลแบบ Long Term Care (ระยะยาว) กลุ่มที่ 1 ที่ 2 และกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้ กลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ และ อผส. กลุ่มติดเตียงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้รับการดูแลโดย Care Giver อย่างต่อเนื่องทุกวัน

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งตัวเข้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยค่ายปฏิวัติชีวิต พิชิตอ้วนพิชิตโรค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่ได้รับการดูแลโดยทีม อผส.ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร้อยละ 100 พบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงรายใหม่ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 พบผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่น้อยกว่า 10

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,000.00 2 54,500.00
14 ก.พ. 61 - 18 ก.ค. 61 ติดตาม เยื่ยมบ้าน เยี่ยมใจ ใกล้เตียง ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและผู้พิการ จำนวน 9 คน เดือนละครั้ง เป็นเวลา 5 เดือน 0 3,000.00 3,000.00
28 มี.ค. 61 - 30 เม.ย. 61 จัดสัปดาห์รณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนโดยทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวร่วมกับ อสม. จิตอาสา เป็นเวลา 14 วัน 0 0.00 51,500.00
  1. ประชุมชี้แจงขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  2. ทำหนังสือเชิญผู้สูงอายุทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม
  3. จัดสัปดาห์รณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวร่วมกับคณะทำงานซึ่งเป็น อสม. จิตอาสา โดยจัดให้มีกิจกรรมดังนี้
    3.1 รณรงค์ตรวจคัดกรองสุขภาพแก่ผู้สูงอายุโดยใช้แบบคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีกิจกรรม ดังนี้
    • ลงทะเบียนรับรับคิว
    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
    • ตรวจวัดความดันโลหิต
    • ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
    • ตรวจสุขภาพช่องปาก
    • ประเมินสุขภาพจิต
    • ตรวจสายตา
    • คัดกรองกลุ่ม Geriatric syndrome 1) ทดสอบสภาวะสมอง 2) คัดกรองโรคซึมเศร้า 3) คัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม 4) คัดกรองภาวะหกล้ม 5) คัดกรองภาวะการณ์กลั้นปัสสาวะ   - ประเมินสมรรถนะความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ADL : Activities of Daily Living   - รับสมัครและคัดเลือกผู้ที่ต้องเข้าค่ายปฏิวัติชีวิตฯ 3.2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ผู้สูงอายุ 3.3 สาธิตการทำน้ำผักเพื่อสุขภาพและให้ชิมฟรี 3.4 จำหน่ายอาหารเมนูสุขภาพ 3.5 จำหน่ายผักพื้นบ้าน ปลอดสารพิษ
  4. วิเคราะห์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองทุกคน เพื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ผ่านการคัดกรองเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
  5. วิเคราะห์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ผ่านการประเมิน ADL เพื่อแบ่งกลุ่มตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร เป็นกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง
  6. ติดตามผู้สูงอายุกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรังทุกเดือนในคลินิกโรคเรื้อรังของสถานีอนามัยและติดตามเยี่ยมถึงบ้านโดย นสค. และ อสม. แต่ละหมู่บ้านในกรณีผู้ป่วยขาดนัด
  7. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และติดเตียง โดยทีม อผส. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเดือนละครั้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุตำบลหนองบัวได้รับการดูแลตามสภาพปัญหาที่ค้นพบจากการรณรงค์คัดกรอง ครอบคลุมทุกเป้าหมายได้ครอบคลุมตามเป้าหมายที่วางไว้ และได้รับการบำบัดและฟื้นฟูตามสภาพปัญหาสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้
  2. สามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุได้
  3. ลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านได้รับการดูแล
  4. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2018 11:05 น.