กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนต้นแบบควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลหนองบัว
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสา มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 14,700.00
รวมงบประมาณ 14,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรง คือผู้สูบบุหรี่เองและทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสองทั้งที่ประไทยมีการรณรงค์การควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์ และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปี โดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูงบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งปวด ที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย อีกทั้ง การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจการสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจเต้นผิดปกติ และได้มีการประมาณการทุกครั้งที่มีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตครบ 8 ราย จะมีผู้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่า โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่ จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็ก หากมารดาครรภ์สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่น ทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เด็หากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไตวาย ปอดอับเสพติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป   สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปี 2557 พบว่า จำนวนประชากรมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.7) เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน (ร้อยละ 18.2) สูบนานๆครั้ง 1.4 ล้านคน (ร้อยละ 2.5) ในวัยทำงาน (25-59ปี) มีอัตราการสูบสูงสุด (ร้อยละ 23.5) รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (15-24 ปี) (ร้อยละ 16.6 และ14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบมากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 22 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบเพิ่มสูงขึ้นและทุกกลุ่มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15.24 ปีเริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่น จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของคนตายทั้งหมด รัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 ล้านบาท ถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้ ลดละ เลิก การสูบบุหรี่ โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งการดูแลเสริมสร้างสุขภาพการแนะนำให้มาบำบัด จัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับมาเสพซำ้ โดยการสร้างแรงจูงใจการตระหนักถึงปัญหาร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และการให้ความรู้แก่ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดีโดยการสร้างการตระหนัก จูงใจประชาชนเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพดี ของตนเองและบุคคลรอบข้าง ควบคู่กับการรณรงค์การใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว จึงจัดทำโครงการชุมชนต้นแบบควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลหนองบัว ปี 2561 ขึ้น เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และลดจำนวนนักสูบหน้าเก่า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู/แกนนำเยาวชนความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยของบุหรี่สุราเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่

ครูและแกนนำเยาวชน จำนวน 50 คน

0.00
2 เพื่อสร้างขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และคณะทำงาน จำนวน 30 คน

0.00
3 เพื่อติดตามสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ สุรา และการบังคับใช้กฎหมาย

ร้านค้า ปั๊มน้ำมัน และสถานที่สาธารณะ

0.00
4 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคคลที่ ลด ละ เลิดบุหรี่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,470.00 1 14,700.00
25 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เครือข่ายครู/แกนนำเยาวชน 0 1,470.00 14,700.00
  1. ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  2. ประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบระดับตำบล
  3. อบรมให้ความรู้เครือข่ายครู/แกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษ พิษภัยของบุหรี่ สุรา รู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. อสม. ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ร่วมประชาสัมพันธ์เผยแพร่สื่อสาร ถึงกลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์ควบคุมยาสูบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. เฝ้าระวังสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ สุรา และการบังคับใช้กฎหมายตามร้านค้า และปั๊มน้ำมัน
  6. กรรมการฯ บังคับใช้กฎหมายลงพื้นที่ตรวจเตือนและประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับร้านค้า
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักสูบหน้าใหม่และนักสูบหน้าเก่าลดลง
  2. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหมู่บ้าน/ชุมชน
  3. ร้านค้า ปั๊มน้ำมัน และสถานที่สาธารณะไม่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2561 11:17 น.