กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวหนองบัวร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและภัยพิบัติสู่ตำบลควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืนตำบลหนองบัว
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 51,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสา มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 51,150.00
รวมงบประมาณ 51,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทยปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ยังพบอัตราป่วยและป่วยตายอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ของจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 24 พฤศจิกายน 2560 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 315 ราย อัตราป่วย 49.09 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย อัตราป่วย - ตาย ร้อยละ 0.63 โดยอำเภอรัษฎาซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัษฎา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 17.11 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลหนองบัว พบผู้ป่วยยืนยันไข้เลือดออก จำนวน 1 ราย พบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก จำนวน 10 ราย รวมทั้งสิ้น 12 ราย ซึ่งหากขาดการควบคุมป้องกันที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ไข้เลือดออกแพร่ระบายอย่างรวดเร็วได้   นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่ออื่นๆ ที่มีการระบาดและต้องติดตามให้ทันตามสถานการณ์ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง ซึ่งยังคงเป็นโรคประจำถิ่นที่พบสูงสุดในปี 2560 และโรคติดต่อที่ยังพบในพื้นที่คือ โรคปอดบวม โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคล้วนต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างจริง เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็กปัญหาดังกล่าว และการดำเนินงานควคุมป้องกันโรคติดต่อตามนโยบายอำเภอควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการชาวหนองบังร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อและภัยพิบัติ สู่ตำบลควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืน เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่และโรคติดต่อตามนโยบาย และให้ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งมีทัศนคติที่ถูกต้องและตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่และโรคติดต่อตามนโยบาย (อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร)

หมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า 10 (HI น้อยกว่า 10)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

โรงเรียน/ศพด./วัด/สำนักสงฆ์ ปลอดลูกน้ำยุงลาย

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมองภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

อัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 51,150.00 4 51,150.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมประชุมทีม SRRT 9e[] 0 4,600.00 4,600.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์ 0 14,620.00 14,620.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมประกวดหมู่บ้านควบคุมโรคติดต่อ และประเมินโรงเรียน/วัดปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 16,330.00 16,330.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ทีม SRRT และ อสม. ตำบลหนองบัว และปฏิบัติการพ่นหมอกควัน 0 15,600.00 15,600.00
  1. ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดทำโครงการ
  2. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางระบาดวิทยา มีการแจ้งข่าวการระบาดของโรคและเหตุการณ์ผิดปกติ สรุปสถานการณ์โรคในการประชุม อสม. และประชุมหมู่บ้านทุกเดือน
  3. เตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค
  4. อบรมให้ความรู้แก่ทีม SRRT และ อสม. ตำบลหนองบัว
  5. จัดประชุมทีม SRRT ตำบลหนองบัวและนำเสนอเหตุการณ์ในชุมชนโดยเครือข่าย 3 เดือน/ครั้ง
  6. จัดประชุมแกนนำหมู่บ้านเรื่องการดำเนินการหมู่บ้านควบคุมโรคติดต่อดีเด่น
  7. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ในเวทีประชาคมและหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน
  8. สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในครอบครัว(HI) และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดย อสม. และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  9. สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและวัด(CI) และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดย อสม. และแกนนำนักเรียน
  10. จัดสัปดาห์รณรงค์บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปี 2561 ร่วมกัน 2 ครั้ง
  11. ปฏิบัติพ่นหมอกวันตามโรงเรียน วัด ศพด. โดยพ่นสองครั้งก่อนเปิดเทอม แต่ละครั้งห่างกันหนึ่งอาทิตย์
  12. ปฏิบัติการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก และครัวเรือนในระยะ 10 เมตร จากบ้านผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก
  13. ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อตามครัวเรือนและหน่วยงาน
  14. จัดประกวดหมู่บ้านและโรงเรียนควบคุมโรคติดต่อ
  15. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
  16. คัดกรองผู้ป่วยสงสัยโรคมือเท้าปาก
  17. จัดประกวด อสม./ อสม.วัยใส/อสม.สูงวัย ด้านการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
  18. จัดประกวดนวัตกรรมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  19. ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดในกรณีเกิดผู่ป่วยหรือผู้สงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อ รวมทั้งป้องกันการระบาดในโรงเรียน วัด และ ศพด.
  20. สรุป/ประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามรถลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ ชึ่งเป็นปัญหาสำคัญตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นปัญหาในพื้นที่
  2. ประชาชนและชุมชนทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ
  3. ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2561 11:30 น.