คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขาภิบาลอาหารสะอาดปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีชีวิมีสุข
ชื่อโครงการ | คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขาภิบาลอาหารสะอาดปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีชีวิมีสุข |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 2 กุมภาพันธ์ 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 15,265.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมาริสามากเพ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.978,99.731place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2560 | 30 ก.ย. 2561 | 1 ต.ค. 2560 | 30 ก.ย. 2561 | 15,265.00 | |
รวมงบประมาณ | 15,265.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มีความสำคับอย่างยิงต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันพบการปนเปื้อนของอาหารจากสารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ประกอบการบางรายไม่ให้ความสำคัญในขั้นตอนของการผลิตสินค้า อาหาร ในวางออกมาวางจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคจะเห็นได้ว่าปัจจุบันปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีบทบาทและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารเพื่อให้อาหารที่สะอาดปราศจากสารปนเปื้อน ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการจำเป็นจะต้องมีมาตรการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารในทุกกระบวนการ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ สถานการณ์แนวโน้มสุขภาพของประชาชนในสังคมปัจจุบันมีความเสี่ยงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของประชาชนและสิ่งแวดล้องส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยในปัจจุบันไม่ถูกต้อง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการบริโภคอาหารและอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคเรื่้อรังต่างๆค่านิยมของการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป ปัจจุบันเน้นอาหารปรุงสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน อาหารตามสั่ง อาหารฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว แต่ไม่คำนึงถึงภัยอันตรายที่เกิดจากสารปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ อาหารที่ได้รับความนิยมมากสุดในตอนนี้คือ อาหารประเภททอด จนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดี ทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืช โดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ 800,000 ตัน ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารทอดจะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไปจึงมีการเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ "สารโพลาร์" ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหารกำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำมันในการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันจะช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารทอด ทราบเวลาที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเอง ที่ยังคงความปลอดภัยไว้ ในปี 2549 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทย ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น การดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารทางกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางขายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด อาทิเช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซำ้ของแผงลอยจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารการตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ จากการสำรวจข้อมูลร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านค้า แผงลอยที่มีการจำหน่ายอาหารประเภททอดในชุมชนตำบลหนองบัว พบว่ามีร้านอาหารขนาดใหญ่จำนวน 1 ร้าน แผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 4 ร้าน ที่มีการจำหน่ายอาหารมาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในส่วนของร้านค้าและแผงลอยที่มีการจำหน่ายอาหารประเภททอดนั้นมีทั้งหมด 15 ร้าน รวมไปถึงโรงเรียนในโรงเรียนทั้งหมด 4 โรง และศูนยพัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวเล็งเห็นปัญหาด้านสุขาภิบาลอาหารในชุมชน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารและลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคจากอาหารเป็นสื่อ จึงจำเป็นจะต้องมีการเฝ้าระวังห่วงโซ่อาหารของสถานประกอบการอาหารที่ได้กล่าวไว้แล้วในช้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างความร่วมมือของภาคประชาชน และการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัยเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ปราศจากสารอันตรายเจือปน ในอาหาร ดังคำที่ว่า "อาหารต้องสะอาด ปราศจากสารอันตรายเจือปน และมีคุณค่าครบถ้วน" เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและได้มาตรฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขาภิบาลอาหารสะอาด ปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีชีวีมีสุข นี้ขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์สถานประกอบการขายอาหารให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีความรู้ในด้านสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงความปลอดภัยจากบริโภคอาหารของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารสะอาดและปลอดภัยในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านค้าร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภททอดในชุมชน
|
0.00 | |
2 | เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ร้านค้า ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมายและเป็นการประกันคุณภาพของร้านอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัยเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย
|
0.00 | |
3 | เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการและคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร พร้อมกับการพัฒนาสถานประกอบการให้ถูกหลักสุขาภิบาล
|
0.00 | |
4 | เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย
|
0.00 | |
5 | เพื่อส่งเสริมการพัฒนาร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารประเภททอด และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและปลอดภัย
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 | รณรงค์ให้ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร | 65 | 2,250.00 | ✔ | 2,250.00 | |
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 | ประเมินมาตรฐานร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์กรมอนามัยและเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 25 ราย | 25 | 2,990.00 | ✔ | 2,990.00 | |
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 | สุ่มตรวจร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการ | 25 | 3,025.00 | ✔ | 3,025.00 | |
28 ก.พ. 61 | จัดประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและชี้แจงโครงการ | 20 | 500.00 | ✔ | 500.00 | |
29 มี.ค. 61 | อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | 65 | 6,500.00 | ✔ | 6,500.00 | |
รวม | 200 | 15,265.00 | 5 | 15,265.00 |
- สำรวจข้อมูลร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านค้าแผงลอยที่มีการจำหน่ายอาหารประเภททอดในชุมชน
- จัดทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุมัติโครงการ
- ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนและชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
- เชิญผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านค้า/แผงลอยที่มีการจำหน่ายอาหารประเภททอดในชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัวรวมไปถึงผู้บริโภคและ อสม.ผู้รับผิดชอบคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วมอบรมรับความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและการพัฒนาสถานประกอบการอาหารให้ด้านคุณภาพมาตรฐานผ่านเกณฑ์ของกรมอนามัยพร้อมรับทราบถึงแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ
- เชิญชวนผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (ผ่านเกณฑ์ Clean Food Good Taste) สำหรับร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารที่มีการเปิดกิจการใหม่เปิดรับสมัครเพื่อเข้าร่วม CFGT
- เจ้าหร้าที่สาธาณสุข และ อสม.ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการออกประเมินมาตรฐานร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์กรมอนามัยและเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากสารโพลาร์ที่เจือปนอยู่ในน้ำมันทอดซ้ำ
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SL-2 ทุกๆ 2 เดือน และตรวจหาสารฟอร์มมาลิน,บอแรกซ์,สารฟอกขาว,และสารกันรา
- รณรงค์ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนผ่านช่องทางสื่อต่างๆในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร และอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำโดยใช้วิธีประชาสัมพันธ์ในเวทีการประชุมประจำเดือนของแต่ละหมู่บ้าน มีการใช้ป้ายไวนิลรณรงค์ตามแหล่งชุมชน
- สุ่มตรวจร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ เดือนละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันและมีกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่
- แนะนำให้ผู้ประกอบการอาหารทอดรู้จักวิธีการตรวจสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เพื่อให้ทราบรอบของการเปลี่ยนน้ำมัน รวมถึงวิธีการกำจัดน้ำมันเสื่อมคุณภาพที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม - มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ "ร้านนี้ใช้อาหารทอดปลอดภัย" กรณีร้านผ่านมาตรฐานน้ำมันตามที่กำหนด (จากการสุ่มตรวจจำนวน 5 ครั้ง มีผลการตรวจผ่านมาตรฐาน 3 ครั้งติดกัน) หลังจากนั้นจะมีการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันเพื่อเฝ้าระวังและต่ออายุของป้ายรับรองต่อไป 10. สรุปผลการดำเนินงานโครงการและมอบป้ายประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและมีความตระหนักถึงการพัฒนายกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารสถานประกอบการของตนให้ได้รับการรับรอบคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
- ประชาชนผู้บริโภครู้จักเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ และมีความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่มีอันตรายในอาหารที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ
- มีร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัวผ่านเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste ร้อยละ 80 ของพื้นที่
- ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัวได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสารอันตรายเจือปน รวมไปถึงปลอดภัยจากสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
- เกิดการพัฒนากลไกระบบการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อและอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2561 11:47 น.