กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตำบลหนองบัวบริหารจัดการขยะประปลอดภัยไร้โรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 16,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดาจันทรมาศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 16,400.00
รวมงบประมาณ 16,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบ Roadmap การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในการประชุมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 โดยมีนโยบายการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย ดังนี้ 1) แก้ปัญหาขยะเก่า คือ เร่งกำจัดขยะมูลฝอยที่ตกค้างสะสมในพื้นที่ จะต้องไม่มีขยะถูกกองทิ้งกลางแจ้ง2) ขยะมูลฝอยที่เกิดใหม่ให้ดำเนินการจัดการขยะรูปแบบใหม่ คือ ต้องลดการผลิตขยะและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือน3) วางระเบียบ
มาตรการที่จะรองรับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลการบริหารขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัด4) การสร้างวินัยของคนในชาติ คือการให้ความรู้กับประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณขยะในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จะเห็นได้จากขยะมูลฝอยตามหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้นซึ่งขยะเหล่านั้นเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก แลพขยะอิเล็กทรอนิกต่างๆ ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่างๆตลอดจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน เช่นโรคระบบทางเดินหายใจ/โรคจากภูมิแพ้/โรคจากการติดเชื้อ/โรคมะเร็ง เป็นต้น จากเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้ เว้นแต่ประชาชนในหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้บริโภคและผู้ขายจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดการใช้ เปลี่ยนการใช้หีบห่อบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก เป็นหีบห่อบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น ใบตอง กระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและนำวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่แทนที่จะทิ้งเป็นขยะเพื่อลดจำนวนขยะ และลดรายจ่ายในการซื้อของใหม่ ในปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จัดการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ซึ่่งส่วนมากประชาชนยังขาดจิตสำนึกและแรงจูงใจในการคัดแยกขยะทำให้ประชาชนบางส่วนจะทิ้งลงช้างทางบ้างหรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลองและสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะส่งผลให้น้ำเกิดเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คสช. ได้กำหนดให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและแก้ไขปัญหาขยะ กลุ่มสตรีตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงต้องสร้างจิตสำนักของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโครงการคัดแยกขยะ พัฒนาขยะหมู่บ้านด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมลภาวะ แหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้กระบวนการค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจากการเกิดโรคติดต่ออันเนื่องจากขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดขยะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของตำบลหนองบัว

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,400.00 2 16,400.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิลแลกไข่ 0 3,500.00 3,500.00
28 เม.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ 0 12,900.00 12,900.00
  1. ขั้นเตียมการ 1.1 ประชุมขณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ 1.5 จัดหาอุปกรณ์ 1.6 กำหนดขยะต่อหน่วยในการแลกไข่ 1.7 จัดซื้อขยะรีไซเคิลแลกไข่ ในวันที่ 28 ของทุกเดือน
  2. ขั้นดำเนิดการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อแจ้งให้ทราบถึงประเภทของวัสดุที่รับซื้อ ราคา วิธีการคัดแยกและการจัดการ เช่น การทำความสะอาดการแยกประเภทขยะที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มราคาและวันที่จะจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์เชิญชวนชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม 2.2 โดยกำหนดวันรับขยะรีไซเคิลและไข่กับวันจัดอบรมโครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในวันที่ 28 ของทุกเดือน
  3. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ทำให้ประชาชนได้ตระหนักและจิตสำนึกในการร่วมกันลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสามารถร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและท้องถิ่น
  3. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความเข้าใจในกระบวนการเมืองน่าอยู่และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ความสะอาดหน้าบ้านของตนเองอย่างต่อเนือง เพื่อบรรลุเป้าหมายตำบลหนองบัวสะอาดและเป็นทางเลือกใหม่ในการลดปริมาณขยะและลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  4. ปริมาณขยะของตำบลหนองบัวลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2561 11:56 น.