กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทักษะการเรียนรู้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาลัส ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2990-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา อบต.ควน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2017 - 31 พฤษภาคม 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอวี ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.762,101.493place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดการศึกษาปฐมวัยในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรก เพื่อวางรากฐานชีวิตของ เด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บนรากฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นบานและระดับที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคล ที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมกระบวณการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคล ภายใต้บริบททางวัฒนธรรม อารยธรรมและวิถีชีวิตทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน
การจัดการศึกษาและเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนวัยเรียน เป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กวัยนี้กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจและสติปัญญาการพัฒนาเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ในแนวการจัดประสบการณ์นั้นจะต้องยึดพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก โดยคำนึงถึงวัย ความสามารถและความแตกต่างของแต่ละบุคคล การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3-4 ปีไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันใช้ชื่อเรียกกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน แต่ทั้งนี้ประสบการณ์ที่จัดต้องครอบคลุมประสบการณ์ที่จัดต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และควรยึดหยุ่นให้มีสาระที่ควรเรียนรู้ ที่เด็กสนใจและสาระที่ควรเรียนรู้ที่ผู้สอนกำหนด เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ การแก้ปัญหา จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทดลองศึกษานอกสถานที่ ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กเล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมกับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญญาในชีวิตประจำวัน และในการกิจกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลแลกลุ่ม จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาลัส ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้เต็มตามศักยภาพและสอดคล้องกับมาตราฐานสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาลัส จึงได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับ ปฐมวัยขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยในการจัดกิจกรรมซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อส่งผลให้เด็กได้เกิดพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา และจริยธรรมมีการปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคม และเจริญเติบโตเป็นบุคลากรที่ดี มีคุณภาพของประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กได้มีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาและมาตราบานการศึกษาปฐมวัย 2.เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์เรียนรู้โดยตรง มีความสนุกสนาน อารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใส 3.เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษาในการพัฒนาเด็กเล็ก 4.เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้มีพัฒนาการตามวัยอย่างเต็มความสามารถและศักยภาพ

3.1เชิงปริมาณ เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาลัส ได้รับการพัฒนาให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ 3.2เชิงปริมาณ 3.2.1ร้อยละ 80 เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ 3.2.2 ร้อยละ 80 เด็กปฐมวัยสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 3.2.3 ร้อยละ 80 เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข 3.2.4 ร้อยละ 80 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปาลัส มีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของศูนย์ด้วยดี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ลำดับ รายการกิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ ม.ค. –ก.พ 60 กองการศึกษา
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ เม.ย 60 กองการศึกษา
3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน พ.ค.60 กองการศึกษา ศพด.บ้านปาลัส
4. ดำเนินงานตามโครงการ พ.ค.60 กองการศึกษา
5 ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ก.ค.60 กองการศึกษา
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผู้บริหารสถานศึกษา ส.ค 60 กองการศึกษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี และได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา 2.เด็กปฐมวัยสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถคิดและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับวัย 3.เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทย โดยผ่านการทำกิจกรรม 4.ชุมชน และ องค์กรต่างๆ มีความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นของตน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2017 13:43 น.