กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
รหัสโครงการ 61-L8302-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 29,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 257 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจเป็นสิ่งที่ทุกกคนพึ่งปรารถนา โดยที่การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายความเพียงแต่การไม่เจ็บป่วยหรือปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ( กระทรวงสาธารณสุข , กรมอนามัย ; ๒๕๔๐ ) อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าวิถีการดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ล้วนส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่คร่ำเคร่งกับการดำเนินชีวิตประจำวันส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพในด้านต่าง ๆเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงละเลยต่อการออกกำลังกายทั้งโดยทางตรงและขาดการเคลื่อนไหวในลักษณะของการออกกำลังกายประจำวัน จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามมาและเมื่อพิจารณาถึงโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนโดยในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของโรคติดต่อปัจจุบันโรคเหล่านี้มีแนวโน้มลดลงโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคไม่ติดต่อ โรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนโรคเรื้อรัง จากนโยบายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ที่ปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยจากพฤติกรรมทางสุขภาพและการบริโภคไม่ถูกต้องเสี่ยงต่อโรคกลุ่ม Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดและสมอง ส่วนทางพันธุกรรม อายุ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคในกลุ่ม Metabolic เหล่านั้นได้ ถ้าพฤติกรรมไม่ดีอาจมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล เสียรายได้ ตลอดจนส่งผลทางด้านค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของรัฐไปด้วย สถานการณ์โรคเรื้อรังจากกลุ่มโรคเมตาบอลิกเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกสำหรับโรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล จากผลการคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ทั้งหมด ๕๗๙ คน คัดกรองได้ ๕๖๗ คน ร้อยละ ๙๗.๙๓ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวาน ๑๔๑ คน(เขตเทศบาล ๖๘ คน) มีภาวะเสี่ยงเบาหวาน ๑๕ คน(เขตเทศบาล ๕ คน) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๓๕๗คน(เขตเทศบาล ๑๓๔ คน) มีภาวะเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง ๑๒๙ คน(เขตเทศบาล ๕๕ คน) ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๑๗ คน(เขตเทศบาล ๕๕ คน) จากข้อมูลแสดงถึงแนวโน้มความรุนแรงที่เป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้ดำเนินการคัดกรองภาวะสุขภาพประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖๐ พบว่า ประชากรมีระดับความเสี่ยงสูงที่จะเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกันการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคและผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังปี ๒๕๖๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อค้นหาและลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนและลดภาวะแทรกซ้อน

สามารถค้นหาคัดกรอง ในกลุ่มเป้าหมาย ๓๕ ปี ขึ้นไป ร้อยละ ๙๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,290.00 6 29,290.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(กลุ่มเสี่ยง) 0 1,500.00 1,500.00
1 - 31 มี.ค. 61 ป้ายโครงการ 0 750.00 750.00
1 เม.ย. 61 - 1 มิ.ย. 61 ฝึกทักษะการเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการตามแบบ 3อ.1ส. 0 9,200.00 9,200.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการและเยี่ยมสาธิตการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง,ผู้ป่วยติดเตียง อยู่ได้ถ้าบุตรหลานร่วมกันดูแล (ร้อยละ ๑๕ ของผู้ป่วยเรื้อรังหมด ๒๕๗ คน) 0 6,240.00 6,240.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน(ร้อยละ ๑๐ ของผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมด ๒๕๗ (กลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำกับกิจกรรมข้อ ๒) 0 5,200.00 5,200.00
1 - 31 ก.ค. 61 กิจกรรมมหกรรมสุขภาพ NCD แบบบูรณาการครบวงจร เพื่อสุขภาพของประชาชนในยามต้องพึ่งพา(ผู้ป่วยเรื้อรังไม่อยู่ระบบและผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน ๖๔ คน) 0 6,400.00 6,400.00

ขั้นที่ ๑ ตอนก่อนการดำเนินการ ๑. ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๓. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร ๓๕ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ๔.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย
๕.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่าย ๖.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ ๒ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ๑.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความ เข้าใจในแนวเดียวกัน แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความ ๒.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ ๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาล ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
๔.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ๕. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ๖. ติดต่อวิทยากร ในการจัดอบรมกิจกรรมอาหารที่เหมาะสม ในกลุ่มเสี่ยง METABOLIC ๗. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ ๘.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงพร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ขั้นที่ ๓สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. ประเมินผลสรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยังหลังเข้าร่วมโครงการ ๖เดือน บันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS ๒. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค Metabolic ๒. ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม ๓. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค Metabolic ๔. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายแข็งแรงจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ในที่สุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2561 09:39 น.