กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8302-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ๐-๖ ปี ซึ่งได้สนองตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-พ.ศ. ๒๕๖๔) ได้เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะเด็กซึ่งเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากวลีคำตั้งแต่อดีตที่ว่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า รัฐบาลในแต่ละสมัยได้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้ระบุ ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะระบบประสาทในทารกแรกเกิด – ๒ ปี จะมีการเจริญเติบโตประมาณ ร้อยละ ๗๕ ของทั้งหมด และเมื่ออายุ ๓ ปี จะมีการเจริญเติบโตถึงร้อยละ ๙๐ ถ้าหากเด็กมีภาวะทุพโภชนาการในช่วงนี้ ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการค่อนข้างช้า ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย กล้ามเนื้อลีบเล็ก ไม่แข็งแรงผิวหนังแห้งและเด็กจะเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศและด้านอื่น ๆ ของประเทศตามที่ว่าเด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้าเป็นคำกล่าวที่มายาวนานซึ่งเด็กเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติให้รุ่งเรืองต่อไปในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้เห็นความสำคัญตามนโยบายและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพเด็กให้สุขภาพกาย ใจ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเด็กเหมาะสมตามวัยโดยเน้นความร่วมมือในทุกส่วน โดยเฉพาะชุมชน และป้องกันกลุ่มเด็ก ๐-๖ ปี ให้มีสุขภาพดีพัฒนาการทีดีและไม่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก(เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล) ยังมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๒.๒๗ (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ ๑) ค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๘.๖๕ และน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ ๒.๑๔ ทำให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงต้องร่วมใจให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องโภชนาการมากขึ้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มคุณภาพเด็กแรกเกิด

ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

6.00 20.00
2 ๑. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในเด็ก ๐-๖ ปี และเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการดูแล ติดตามและมีน้ำหนักดีขึ้น

๑. เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ ๑

0.00
3 ๒. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็กและสังคมในเด็ก

๒. เด็กมีการตรวจพัฒนาการและตรวจภาวะโภชนาการ ร้อยละ ๙๕

0.00
4 ๓. เพื่อสิ่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูก มีกิจกรรมร่วมกัน

๓. ติดตามพัฒนาการเด็กและให้คำแนะนำแก่ครอบครัว ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๐

0.00
5 ๔. เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก ๐-๖ ปี

๔. เด็กมีโภชนาการภาวะปกติ ร้อยละ ๗๐

0.00
6 ๕. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย

๕. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๘๐ 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,950.00 5 20,250.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 2. สนับสนุนอาหารเสริมในเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 0 7,200.00 7,200.00
1 - 31 มี.ค. 61 ป้ายโครงการ 0 750.00 750.00
1 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กร่วมสานสัมพันธ์พ่อแม่ลูก เด็ก ๐-๖ ปี ๓.๑ กิจกรรมละเล่นกีฬาสัมพันธ์พ่อแม่ลูก(กลุ่มเด็ก ๕-๖ ปี) 0 2,500.00 6,000.00
1 - 30 มิ.ย. 61 ๓.๒ กิจกรรมพับกระดาษ วาดรูป สานรักสัมพันธ์ พ่อแม่ลูก(กลุ่มเด็ก ๒-๔ ปี) 0 2,500.00 2,500.00
1 ก.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 ๓.๒ กิจกรรมพับกระดาษ วาดรูป สานรักสัมพันธ์ พ่อแม่ลูก(กลุ่มเด็ก ๒-๔ ปี) 0 6,000.00 3,800.00

กลวิธีดำเนินการ ระยะแรก ส่วนที่๑ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการพัฒนาสถานบริการเพื่อร่วมจัดทำโครงการ ๒. ดำเนินการจัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓. ดำเนินการตามโครงการ ส่วนที่๒ ๑. ประชุม อสม. กรรมการพัฒนา รพ.สต.
๒. ประชุมผู้ปกครองเด็ก๐-๖ ปี
๓. จัดทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริง (ต่อเนื่อง) ๔. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างน้อยและผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักปกติ ๕. สนับสนุนอาหารเสริม แก่เด็ก ๐-๖ ปี ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ๖. ให้ผู้ปกครองชั่งน้ำหนัก และ แปรผลด้วยตนเอง ชุมชนมีส่วนร่วมการจัดประกวดอาหารสำหรับเด็ก ๗. มีการให้รางวัลสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่น้ำหนักดีขึ้นจนมีน้ำหนักปกติ ๘. สรุปโครงการรายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก ระยะสอง (ระยะยาว) ๑. หาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมจัดมุมพัฒนาการเด็กในสถานบริการ ๒. จัดประชุมสัมมนากับผู้ปกครองเด็ก ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผดบ. และ อสม. ในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเด็ก ๐-๖ ปี ทุก ๓เดือน และการตรวจพัฒนาการเด็ก ๓. จัดบทความให้ความรู้ด้านโภชนศึกษา ในทุกวันศุกร์ ๔. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม. ออกเยี่ยมบ้านเด็กภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
๕. ชั่งน้ำหนักเด็ก ๐-๖ ปี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทุกเดือน โดยผู้ปกครองแปรผลด้วยตนเอง และมีการตรวจและประเมินพัฒนาการเด็กตามวัย ๖. การจ่ายยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กและยาถ่ายพยาธิ ทุก ๓ เดือน
๗. ประเมินผลหากเด็กน้ำหนักไม่ดีขึ้นเปลี่ยนวิธีการดำเนินการในการแก้ไขบัญหาต่อไป ๘. สรุปผลการดำเนินงาน ๙. สรุปปัญหาและอุปสรรคเพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป ๑๐. รายงานให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทราบทุก ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๖ ปีของรพ.สต.บ้านสะโล เพิ่มขึ้น ๒. อัตราส่วนสูงต่ออายุตามเกณฑ์ค่อนข้างสูง และสูงกว่าเกณฑ์รวมกันในเด็ก ๐-๖ ปีของ ๓. รพ.สต.บ้านสะโล ๔. ผู้ปกครองมีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูและตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังดูแลโภชนาการ และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐-๖ ปี ได้ดีขึ้น ๕. ชุมชนมีความรู้ ความสามารถและมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร ๖. เด็ก ๐-๖ ปี มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2561 10:20 น.