กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือด อันมีผลมาจากโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไลลา ดะแซสาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,450 ราย พบ กลุ่มเสี่ยง 345 ราย กลุ่มสงสัยที่เป็นโรค 58 รายซึ่งเดิมผู้ป่วยที่รับการรักษาแล้ว 315 ราย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และจากสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน อันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือด อันมีผลจากโรคเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร ภาวะจิตใจ ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการกำกับพฤติกรรม และการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ผู้รับผิดชอบงานสำรวจข้อมูล และคัดกรองประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป ค้นหากลุ่มเสี่ยง 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 3. ผู้รับผิดชอบงานประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม. 4. ประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม. ผู้นำศาสนาผู้นำชุมชนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ขั้นดำเนินการ 1. รณรงค์ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชน 2. อบรมกลุ่มที่เสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอบรม สร้างทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย สร้างสุขภาพจิตดี 3.ประเมินสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว เดือนละครั้ง เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานเป็นรายเดือน 4. ติดตาม / วิเคราะห์และประเมินผล 5. ส่งต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์โรงพยาบาลเบตง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรอง เพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต
    1. กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือด
    2. ไม่พบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2560 15:51 น.