กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านนา โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาหวา หว่าหลำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 480 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Aged Society) จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ ๕๖ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก๔ล้านคน (ร้อยละ(๖.๘ ) ในปี๒๕๓๗เป็น๑๐ล้านคน (ร้อยละ๑๔.๙ ) ในปี๒๕๕๗และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน(ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 6,394,022 คนพบว่าเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคมร้อยละ 21 ในปี 2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยทีมสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิซึ่งจัดบริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านนาจึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) และติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้ทราบข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุในพื้นที่ ที่ถูกต้องและเป็นจริง
  • ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) ทุกราย
0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านพร้อมคำแนะนำในการทำกิจวัตรประจำวัน และรับมอบชุดเยี่ยมทุกราย
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ อสม.ผู้ปฏิบัติงาน
  • อสม.เยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงครบทุกราย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,800.00 0 0.00
26 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ,ให้คำแนะนำตามส่วนขาดตามเกณฑ์ ADL 0 12,400.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ค้นหาผู้สูงอายุ/ขึ้นทะเบียน,สำรวจผู้สูงอายุ ประเมินผู้สูงอายุตามเกณฑ์ ADL 0 9,400.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเสนอ 2. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ อสม.ผู้ปฏิบัติงาน 3. สำรวจกลุ่มเป้าหมายโดย อสม.ในเขตรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุม อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน 2. แจ้งแผนการดำเนินงานในการลงเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) 3. ลงเยี่ยมผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ (ADL) พร้อมให้คำแนะนำทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล พร้อมมอบชุดเยี่ยมแก่ ผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) ทุกรายรวมทั้งได้รับคำแนะนำตามส่วนที่ขาดของการประเมิน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2561 16:24 น.