กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3352-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปากสระ
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวรัตน์ นพฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.697,100.093place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 38.4 ล้านคน เป็นแรงงานภาคเกษตรกรรม จำนวน 11.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 56.9 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด การดูแลความปลอดภัยของแรงงานในภาคเกษตรถือเป็นแรงงานจำนวนมากที่สำคัญของประเทศ จำเป็นต้องดูแลคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงานภาคเกษตร ได้แก่ ความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิด และทางที่เข้าสู่ร่างกาย ความเสี่ยงทางชีวภาพ ได้แก่ความเสี่ยงทางโรคติดต่อ เช่น ฉี่หนู ถูกสัตว์กัด ทำร้าย ความเสี่ยงทางกายภาพ ได้แก่ การทำงานในที่มีอากาศร้อนสูญเสียเหงื่อมาก อ่อนเพลีย หมดสติ เป็นลม ความเสี่ยงจากท่าทางและสภาพการทำงานไม่เหมาะสม ยกของไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ อาการบาดเจ็บของกระดูกและข้อ หลังการเร่งรีบทำงานมีผลทำให้เคร่งเครียดทางจิตใจ ออกแรงมากเกินกำลัง เป็นประจำการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมการเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะซ้ำซาก ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในเกษตรกรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดความเสี่ยงจากการใช้เครื่องจักรถูกของมีคมบาด ตำบลชัยบุรีเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรมมีพื้นที่การเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปี นาปรัง ปลูกผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุม กำจัดศัตรูพืช จึงเป็นการกระจายขยายวงกว้างและอยู่ในระดับที่รุนแรงจากข้อมูลการตรวจสารเคมีในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง เมื่อปีงบประมาณ 2560 พบว่าจากการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกร พบว่า มีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัยในเกษตรกร ร้อยละ 62.00 ซึ่งถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงสูง นอกจากนี้ความเสี่ยงด้านอื่น ๆ เป็นปัญหาสุขภาพด้วย จากข้อมูลการเจ็บปวยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากสระ พบว่า โรคที่เกิดจากการทำงาน ได้แก่ อาการปวดเมื่อยยกกล้ามจากการทำงาน อยู่ในสาเหตุการเจ็บป่วยในอันดับต้น ๆ มาทุกปปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากสระ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสียงในพื้นที่รับผิดชอบมีความปลอดภัยในการทำงานทั้งด้านจากการใช้สารเคมี และด้านการปฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงอันเกิดจากโรคที่เกิดจากการทำงาน เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน

1.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน

0.00
2 2.เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีพฤตกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการทำงาน รู้จักการป้องกันตนเองจากอันตราย จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

2.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีพฤตกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการทำงาน รู้จักการป้องกันตนเองจากอันตราย จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

0.00
3 3.ให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

3.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

0.00
4 4.เพื่อลดปัญหาการเกอดโรครายใหม่

4.ลดปัญหาการเกอดโรครายใหม่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,100.00 0 0.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างกลุ่มเป้าหมาย 0 7,500.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าอาหารกลางวันในการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 0 2,500.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 0 2,500.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าตอบแทนวิทยากรการอบรมให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัย 0 3,600.00 -

1.เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ 2.สำรวจเป้าหมายผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจากการทำงาน ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ/กลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.เจาะเลือดสารเคมีตกค้างในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 4.อบรมให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานภาคเกษตร ได้แก่ การดูแลสุขภาพอนามัย/การป้องกันอันตรายด้านการยศาสตร์ การดูแลควบคุมสภาพแวดล้อมการทำงาน/การป้องกันอันตรายจากพิษภัยสารกำจัดศัตรูพืช 5.สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลให้กองทุนฯ ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน 2.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีพฤตกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการทำงาน รู้จักการป้องกันตนเองจากอันตราย จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม 3.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 4.ลดปัญหาการเกอดโรครายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 11:05 น.