กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์บริโภคอาหารปลอดภัย ผักไร้สารพิษ ชีวิตยืนยาว
รหัสโครงการ 61-L8302-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนฮาปา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหาซัน ยาซูโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจาก ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุ มาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า และ พาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลด ละ เลี่ยง เลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภค การปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณเพียงพอ คณะกรรมการชุมชนฮาปา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการกินผักปลอดสารพิษ ด้วยการปลูกผักรับประทานเองซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง ที่สำคัญได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ จึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ชุมชนมีอาหารที่ปลอดสารพิษ ลดภาวะเสี่ยงจากสารเคมีตกค้าง

-ผู้เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ

-ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 3 10,000.00
1 - 30 มิ.ย. 61 1.กิจกรรมเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมการปลูกผักปลอดสารพิษและการใช้วัสดุในชุมชน 0 8,200.00 8,695.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 2.สร้างครัวเรือนนำร่องการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน รั้วกินได้ 30 ครัวเรือน 0 1,050.00 1,050.00
1 - 30 มิ.ย. 61 3.ป้ายโครงการ 0 750.00 255.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการ ชุมชนฮาปา เพื่อร่วมจัดทำโครงการ ๒. ดำเนินการจัดทำโครงการและตามโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการและดำเนินการตามโครงการ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมคณะกรรมการ ชุมชนฮาปา เพื่อดำเนินการ ๒. ดำเนินการจัดทำโครงการ และเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการและดำเนินการตามโครงการ ๓. ประสานวิทยากรด้านการเกษตรและเตรียมกลุ่มเป้าหมาย ๔. ดำเนินตามกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติให้ชุมชน ๕. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนฮาปา ๖. สามารถนำผักที่ชุมชนปลูกได้มาจำหน่ายที่เทศบาลตำบลมะรือโบตกเป็นรายได้แก่ครอบครัว ขั้นสรุปและประเมินผล 1.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 2.ส่งรายงาน ขั้นปรับปรุงและพัฒนา 1.ติดตามและสรุปปัญหา 2.สรุปหาแนวทางแก้ไขปัญหาในการต่อยอดโครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เมื่อได้ดำเนินการตามโครงการแล้ว ชุมชนฮาปา สามารถเป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น มีพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนลดน้อยลง ทำให้คนในชุมชนพัฒนาสู่การเรียนรู้ พึ่งพาตนเองได้อยู่อย่างมีความสุขและสุขภาพจิตดีขึ้น และสามารถขยายโครงการไปยังชุมชนอื่นๆต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 11:40 น.