กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3352-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปากสระ
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 14,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวรัตน์ นพฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.697,100.093place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาวะวัณโรคสูง เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.มีภาระโรควัณโรคสูง 2.มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีสูง 3.มีวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่ม จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี 2554-2558 อัตราความครอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ ร้อยละ 70 ในปี 2559 เป้าหมายค้นหาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จังหวัดพัทลุง จึงมีเป้าหมายค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 423 ราย ซึ่งสามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปี 2559 จำนวน 404 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.51 ของเป้าหมาย สำหรับปี 2560 เป้าหมายผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทที่ตรวจพบและรายงานร้อยละ 80 ที่คาดว่าจะมีในชุมชน พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 717 ราย แยกเป็นอำเภอเมืองพัทลุง จำนวน 166 ราย ควนขนุน 115 ราย กงหรา 50 ราย เขาชัยสน 62 ราย ตะโหมด 42 ราย ปากพะยูน 70 ราย ป่าบอน 65 ราย บางแก้ว 36 ราย ศรีบรรพต 25 ราย ป่าพะยอม 49 ราย และศรีนครินทร์ 37 รายและเขตความรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปากสระมีผู้ป่วยวัณโรค 6 ราย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราป่วย 178.35 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าปกติ และเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่ป่วยกลับซ้ำ ดื้อยา จำนวน 1 ราย มีภาวะเสี่ยงในการแพร่โรคสูง อสม. นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในระดับหนึ่งที่เข้าใขสภาพปัญหา มีความคุ้นเคยแก้ไขปัญหาวัณโรค ซึ่งมีความรุนแรงของโรคเป็นผู้มีความใกล้ชิด โดยการจัดกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ ดูวีดีทัศน์ ศึกษาคู่มือ เล่าประสบการณ์ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขวัณโรคในชุมชน ต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากสระ จึงได้จัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันวัณโรค ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรเสี่ยง

1.เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรเสี่ยง

0.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างพลังแก่ อสม. เพื่อป้องกันวัณโรคในชุมชน

2.เสริมสร้างพลังแก่ อสม. เพื่อป้องกันวัณโรคในชุมชน

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบ DOTS ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

3.พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบ DOTS ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

0.00
4 4.เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วย

4.ฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13.00 0 0.00
27 มี.ค. 61 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 3.00 -
27 มี.ค. 61 ค่าอาหารกลางวัน 0 4.00 -
27 มี.ค. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 4.00 -
27 มี.ค. 61 เอกสารประกอบการอบรม 0 2.00 -

1.จัดทำแผนงานโครงการและประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ 2.อบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค แก่ อสม. 3.ฝึกการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ด้วยแบบคัดกรองด้วยวาจา แก่ อสม. 4.ออกฝึกปฏิบัติจริงในชุมชน โดยการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงวัณโรคในพื้นที่ อสม. 5.ให้ อสม. ติดตาม กำกับการกินยาต่อเนื่อง (Dot) ให้ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนทุกราย 6.จัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานวัณโรคในชุมชนของ อสม. 7.สรุปผลงาน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรเสี่ยง 2.เสริมสร้างพลังแก่ อสม. เพื่อป้องกันวัณโรคในชุมชน 3.พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบ DOTS ให้เป็นไปตามมาตรฐาน 4.พัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 14:54 น.