กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมสุขภาพชุมชนตำบลสะเตงนอก
รหัสโครงการ 61-L4143-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มีนาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 185,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 560 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรอบด้านได้ส่งผลให้เกิดกระแสการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และการดำเนินชีวิตที่ขาดความตระหนักถึงผลเสียที่ทำให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพ และเกิดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย จากสถานการณ์การเกิดโรคจากวิถีชีวิตที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและขาดความสมดุลโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด นับว่าเป็นปัญหาของสังคมไทยของประเทศที่ทุกภาคส่วน ต้องให้ความสำคัญและรวมพลังเพื่อสกัดกั้นปัญหาที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพไม่ให้ลุกลามขยายวงกว้างมากขึ้น หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณและถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ ครบ 5 หมู่และเพียงพอ งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะควบคู่ไปกับ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการระดมพลังของชุมชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาตลอดจนการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการ เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดเสี่ยง ลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการเสียชีวิตและลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

 

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดทักษะและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

 

0.00
3 3.เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ปรับทัศนคติให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

0.00
4 4.เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ให้เกิดมลพิษและสร้างสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อให้ปราศจากพาหะนำโรค

 

0.00
5 5.เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 183,900.00 4 185,900.00
??/??/???? 1.กิจกรรมวิ่งสานสัมพันธ์ครอบครัวเพื่อสุขภาพ 0 31,100.00 31,100.00
??/??/???? 2.กิจกรรมเวทีเสวนาให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการออกกำลังกาย 0 9,500.00 9,500.00
??/??/???? 3.กิจกรรมซุ้มอาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 13 หมู่บ้านและกิจกรรมซุ้มสุขภาพ 6 ซุ้ม 0 76,200.00 76,200.00
??/??/???? 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 0 67,100.00 69,100.00

1.จัดทำโครงการขออนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน 3.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 4.ประสานพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อเข้าร่วมโครงการ 5.จัดมหากรรมสุขภาพชุมชนสะเตงนอก โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมวิ่งสานสัมพันธ์ครอบครัวเพื่อสุขภาพ 2)กิจกรรมซุ้มอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้ง 13 หมู่บ้าน 3)กิจกรรมเวทีเสวนาให้ความรู้ เรื่องสุขภาพและออกกำลังกาย 4)กิจกรรมซุ้มสุขภาพ แบ่งเป็น 4.1) แพทย์แผนไทย 4.2) ตรวจคัดกรองสุขภาพ 4.3) น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
4.4) รักษ์สิ่งแวดล้อม 4.5) ซุ้มชมรมผู้สูงอายุ 4.6) ซุ้มบูรณาการศาสนาด้านสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนเกิดการสร้างกระแสด้านสุขภาพในพื้นที่ 2.ประชาชนเกิดทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว 3.ประชาชนได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ปรับทัศนคติให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลด หวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 4.ประชาชนรู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ให้เกิดมลพิษและสร้างสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อให้ปราศจากพาหะนำโรค 5.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างพฤติกรรมที่ดีในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 10:29 น.