กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความดันโลหิตสูง ลดเบาหวาน
รหัสโครงการ 2561-L5309-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อม เทศบาลตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เมษายน 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 79,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฑาพรกาสเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาด การออกกำลังกายมีภาวะเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2559จำนวน 467 คนพบว่า กลุ่มที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 13.92กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 26.98มีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 42.18จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครสาธารณสุข เทศบาลตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้าน 3 อ.2 ส. เพื่อลดภาวะเสี่ยงอย่างยั่งยืน

กลุ่มเสี่ยง DM/HT ที่เข้ารับการปรับเปลี่ยน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (>ร้อยละ 30)

0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน

อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้ไม่เกินร้อยละ 5   อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ได้ไม่เกินร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,380.00 0 0.00
28 มี.ค. 61 ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 0 2,250.00 -
4 - 30 เม.ย. 61 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในชุมชน 8 ชุมชน 0 32,830.00 -
15 - 31 พ.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 30,800.00 -
15 - 31 พ.ค. 61 จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ 0 12,000.00 -
3 - 20 ก.ย. 61 จัดทำเอกสารสรุปผลโครงการ 0 1,500.00 -

1 ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2ให้อาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป 3 ดำเนินการคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน8 ชุมชนและคัดเลือกกลุ่มเสี่ยง จำนวน 200 คน 4 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเสี่ยงจำนวน200คน 5 จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และบันทึกผลการตรวจสุขภาพ หลังการอบรม 1 เดือนและ 3 เดือน 6 ติดตามกลุ่มเสี่ยงวัดระดับความดันโลหิตและเบาหวานซ้ำในกลุ่มเป้าหมายหลังการอบรม 1 เดือนและ 3 เดือน 7 ประเมินและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ 2ส 2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลหลังการอบรม 1 เดือน ลงบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ 3 มีเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกันในการป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 10:50 น.