กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง
รหัสโครงการ 61-L8411-1-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกม.26ใน
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 29 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาแว แวดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355,101.327place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คือ เพิ่มขึ้นจาก 135 ล้านคน ในปี ค.ศ. 1995 เป็น 151 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2000 และคาดว่าจะเป็น 221 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2010 และ 300 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2025 ตามลำดับ (King และคณะ)    ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ. 2000 เท่ากับ 2.8% และจะเป็น 4.4% ในปี ค.ศ. 2030 (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย ค.ศ. 1996-1997 พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ 4.4% การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2000 พบว่าอัตราความชุก ของโรคเบาหวานในประชากรทีมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เท่ากับ 9.6% หรือคิดเป็นจำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครึ่งเดียว (4.8%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน  การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกม.๒๖ใน จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ขึ้น เพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันกลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มป่วยสูงป้องกันภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 29 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 40 10,200.00 10,200.00
รวม 40 10,200.00 1 10,200.00

๑ ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน กม.๒๖ ใน และอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน(อสม.)เพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน .๒ เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ ๓ ประสานวิทยากร และสถานที่ฝึกอบรม ๔ จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
๕ ประเมินผลโครงการ ดังนี้     ๑. ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร ก่อนและหลังอบรม เกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ผู้ป่วย และมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง Metabolic ได้อย่าง   ถูกต้องเหมาะสม .๒ เกิดเครือข่ายกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 11:41 น.