กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมฑันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
รหัสโครงการ 61-L1536-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ปากแจ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนฯปากแจ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแนวคิดระบบบริการคุณภาพโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวที่ต้องพัฒนาคุณภาพการบริการสุขภาพพื้นฐานในงานอนามัยแม่และเด็กโดยเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างสมวัยทั้งสุขภาวะทางกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาโดยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีนั้นย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย การป้องกันฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ร่างกายของแม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมนในร่างกายโดยเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของเหงือกพบว่าหญิงตั้งครรภ์มักมีปัญหาโรคปริทันต์อักเสบและหากหญิงตั้งครรภ์มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีร่างกายจะยิ่งทำให้เหงือกอักเสบมีความรุนแรงยิ่งขึ้น และนอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์จะมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนไปคือ จะมีการกินอาหารระหว่างมื้อมากขึ้นซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อฟันผุได้ง่าย อาการแพ้ท้องของแม่จะมีการอาเจียนเอาน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดออกมาบ่อยหากละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากหรือมีวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ฟันผุง่ายกว่าคนปกติรวมถึงแม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจำนวนมากซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทย พบว่าเด็กช่วงอายุ๐-๓ปีเป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดตรังปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙พบเด็กอายุ ๓ปี มีฟันผุร้อยละ ๖๕.๙๖๗.๕๕๘.๕๕๐.๕ และ ๔๘.๔ตามลำดับ[1]แม้ว่าอัตราการเกิดฟันผุจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อัตราการเกิดฟันผุยังอยู่ในเกณฑ์สูงและเป็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาของ พิศิษฐ์ สมผดุงและคณะ[2] เรื่อง ประสิทธิผลของกิจกรรมการควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันในหญิงตั้งครรภ์ต่อการมีฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ๖-๓๐เดือน ของตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาพบว่าสภาวะการผุของฟันเด็กในมารดาที่ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันด้วยการย้อมสีฟันระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อเด็กมีอายุ ๑๘-๓๐เดือน มีฟันผุ ร้อยละ ๒๗.๒๗ส่วนเด็กในมารดาที่ได้รับคำแนะนำปกติ เมื่อเด็กมีอายุ ๑๘-๓๐เดือนพบว่ามีฟันผุร้อยละ ๖๓.๗๓ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยฟันผุในเด็ก ระหว่างมารดาทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ ๑ตรวจฟันและให้ทันตสุขศึกษาฝึกควบคุมคราบจุลินทรีย์ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและให้บริการรักษาทางทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ -ซักประวัติและสอบถามพฤติกรรมทันตสุขภาพ -ตรวจฟัน+ย้อมสีฟันและวัดค่า PI ครั้งที่๑ แจกอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดช่องปากและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันในกลุ่มเป้าหมายโดยทันตบุคลากร - ให้ทันตสุขศึกษา โดยแยกตามกลุ่มเสี่ยง (ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีแนวทางดังนี้ (ภาคผนวก)โดยอ้างอิงมาจาก Caries imbalance concept by John D.B. Featherstone -กลุ่มเสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงต่ำนัดให้บริการรักษาทางทันตกรรม -กิจกรรมที่ ๒กิจกรรมเยี่ยมบ้านหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพตนเองและลูกโดย
อสม./นสค. -.๑ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด๔๕วัน โดย อสม/นสค. พร้อมกับสหวิชาชีพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 14:18 น.