กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3307-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุเส็น หนูหนุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะจากสถิติข้อมูลที่ผ่านมานำมาเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2555–พ.ศ. 2559 มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 2.2 ซึ่งพบว่า ปี 2559 มีผู้ป่วยจำนวน 12 ราย ซึ่งมีค่ามัธยฐานสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริม-สุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะพบในทุกกลุ่มอายุ อีกทั้งมิได้ระบาดเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้นจึงนับเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวังรวมถึงการป้องกันและควบคุมโรคให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยชุมชนเป็นผู้ดูแลกันเอง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออกขึ้น เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับทุกองค์กรในชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาดและหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50ต่อแสน ประชากร
  2. ไม่มีป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
1.00
2 2. เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

2.ชุมชนมีกิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

1.00
3 3. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับทุกองค์กรในชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนดำเนินกิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 . กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่อาสาสมัครสาธารณสุข 188 8,000.00 8,000.00
รวม 188 8,000.00 1 8,000.00
  1. เขียนโครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงให้ผู้นำชุมชนครูอสม.และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงที่มาของโครงการ
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
  4. กิจกรรมรณรงค์ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก 4.1เดินรณรงค์และขับรถประชาสัมพันธ์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายโดยเน้นวิธี 5 ป 1 ข 4.2สำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน มัสยิด โรงเรียน และสถานที่ราชการ ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3, 5 และ 6 ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
  5. ติดตาม ประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกโรงเรียนครอบคลุมทุกโรงเรียนและแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย
  2. ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 3, 5 และ 6 ตำบลคลองทรายขาว ให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายลดลง
  3. อัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 3,5 และ 6 ตำบลคลองทรายขาว ลดลง
  4. ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและเข้ามีส่วนร่วมรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 15:42 น.