กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะแลกบุญ
รหัสโครงการ 61-L2488-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 56,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลีย๊ะ วาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องจากประชากรมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย แต่ความสามารถในการกำจัดขยะมีอย่างจำกัด ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ ชุมชนสกปรก ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์ และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น ยุง หนู แมลงสาบ ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้ชิคุนกุนย่า เป็นต้น ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง เกิดการปนเปื้อนของสารพา เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควันจากการเผาขยะ ซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน

ในปี 2560ตำบลบาเจาะมีอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกสูงสุดในอำเภอบาเจาะ มีประชากรที่ป่วยทั้งหมด 18 คน คิดเป็นอัตราป่วย 134.74 คน/แสนประชากร จากข้อมูลการเฝ้าระวังของโรงพยาบาลบาเจาะ พบว่าแหล่งเพาะพันธ์ยุงที่พบมากที่สุด คือ แหล่งที่มีขยะ ดังนั้น ขยะเป็นปัญหาและสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบาเจาะ ที่พบว่ามีขยะทิ้งข้างถนนหนทาง ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ไม่มีการคัดแยกขยะ รวมถึงขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ละเลยและไม่เห็นคุณค่าของขยะ หากประชาชนมีความรู้และมีความตระหนักที่จะนำขยะมาคัดแยกให้ถูกวิธี ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้ และนำกลับมาใช้หมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง

ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการขยะแลกบุญ นำร่องในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลบาเจาะ ปีงบประมาณ 2561 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเป็นที่นำร่องในพื้นที่ของตำบลบาเจาะและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพประชาชน ลดการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,700.00 6 55,900.00
1 ม.ค. 61 - 31 มี.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะในชุมชน และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการจัดการขยะแก่คณะทำงาน 0 6,500.00 6,100.00
1 - 31 ม.ค. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนแก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและตัวแทน อสม.ในหมู่ที่ 7 0 10,000.00 9,600.00
1 - 31 ม.ค. 61 อบรมให้ความรู้ "ร่วมพลังช่วยกันแยก ช่วยลด หมดปัญหาขยะ" แก่ครูอนามัยโรงรียนและนักเรียนโรงเรียนดูกู ชั้น ป.5-ป.6 0 8,600.00 8,600.00
1 - 28 ก.พ. 61 เรียนรู้การคัดแยกขยะ 0 8,100.00 8,100.00
1 - 31 มี.ค. 61 รณรงค์การมีส่วนร่วมการจัดการขยะในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่เน้นการปลุกจิตสำนึกรักความสะอาด 0 6,500.00 6,500.00
1 - 31 มี.ค. 61 จัดทำจุดคัดแยกขยะ 0 17,000.00 17,000.00

1.แต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ข้าราชการในพื้นที่ ตัวแทนเยาวชน อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 7

2.ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะในชุมชน และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการจัดการขยะแก่คณะทำงาน โดยวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

3.อบรมให้ความรู้เรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนแก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว และตัวแทน อสม. ในหมู่ที่ 7 ในการจัดการขยะในชุมชน โดยวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ 12 อบต.โคกเคียน เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ในจังหวัดสงขลา และบริษัทวงค์วานิช

4.อบรมให้ความรู้ “ร่วมพลังช่วยกันแยก ช่วยลด หมดปัญหาขยะ” แก่ครูอนามัยโรงเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านดูกู ชั้น ป.4-ป.6 จำนวน 50 คน

5.รณรงค์การมีส่วนร่วมการจัดการขยะในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่ เน้นการปลูกจิตสำนึกรักความสะอาด

6.ศึกษาดูงานการคัดแยกขยะ โรงงานวงค์วานิช อ.เมือง จ.นราธิวาส

7.จัดทำจุดคัดแยกขยะบริเวณมัสยิดบ้านดูกูดูซง

8.จัดตั้งกองทุนขยะ ในนามขยะแลกบุญ โดยกำหนดให้ทุกบ้านในหมู่ที่ 7 นำขยะมาคัดแยกที่จัดคัดแยกขยะ บ้านละ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

9.นำขยะที่คัดแยกไปขาย หรือรถมารับที่จุดคัดแยกขยะ โดยนำเงินที่ได้จากการขายขยะเข้าบำรุงมัสยิด

10.ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความตระหนักและตื่นตัวในการจัดการขยะของชุมชน

2.อัตราที่เกิดจากยุง แมลงวันลดลง

3.เกิดกลุ่มแกนนำชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อม

4.เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการจัดการขยะโดยคนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2561 15:45 น.