กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีนในวิถีมุสลิม
รหัสโครงการ 61-L2488-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 45,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนอร์มาห์ ไชยลาภ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ บิดา มารดาและครอบครัว คือ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่เด็ก หากบิดา มารดาและครอบครัว ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้เด็กในแต่ละช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90

จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเขตตำบลบาเจาะ ยังมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากผู้ปกครองขาดความตระหนัก ไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีน นำเด็กมาฉีดวัคซีนช้ากว่ากำหนด จึงทำให้เข็มต่อไปช้าไปด้วย ผู้ปกครองกลัวว่าเด็กจะเป็นไข้ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงาน เด็กต้องตามผู้ปกครองไปทำงานต่างถิ่น/ต่างประเทศ เด็กไม่อยู่ในพื้นที่และไม่สามารถติดตามให้เด็กมารับบริการฉีดวัคซีนได้ เป็นต้น โดยเฉพาะหมู่ที่ 3, 5 และ 7 ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่กว้างและประชากรมีจำนวนมาก มากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ จึงมีผลกระทบทำให้เด็กไม่มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์จากปัญหาดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องให้ความรู้ คำแนะนำ แก่บิดา มารดา และครอบครัวของเด็ก ให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนตามวัย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลบาเจาะ ได้เล็งเห็นปัญหา จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องมีการรณรงค์ให้เด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนในพื้นที่ ต้องไม่รับการติดตาม เพื่อให้ได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอัตราป่วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,300.00 5 45,300.00
1 - 31 ม.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการวัคซีนในชุมชนแก่คณะทำงาน 0 6,100.00 6,100.00
1 - 28 ก.พ. 61 อบรมให้ความรู้ ความสำคัญและความจำเป็นของการได้รับวัคซีนให้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ 0 8,600.00 8,600.00
1 - 28 ก.พ. 61 อบรมให้ความรู้ ความสำคัญและความจำเป็นของการได้รับวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 0-72 เดือน 0 8,600.00 8,600.00
1 - 28 ก.พ. 61 จัดทำไวนิลรณรงค์และประชาสัมพันธ์ 0 9,000.00 9,000.00
1 - 31 ส.ค. 61 มหกรรม "เด็กสุขภาพดี" 0 13,000.00 13,000.00

1.แต่งตั้งคณะทำงานที่มีจากผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. ประชาชนในพื้นที่

2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่คณะทำงาน เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่มีจากคนในชุมชน

3.อบรมให้ความรู้ ความสำคัญและความจำเป็นของการได้รับวัคซีน แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และกลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 0-72 เดือน โดยวิทยากรครูจากโรงเรียนสอนศาสนา คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส และพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลบาเจาะ

4.รณรงค์และประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์และโทษของการได้รับและไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

5.จัดบริการค้นหา และฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชน

6.ประกวด “เด็กสุขภาพดี” โดยใช้เกณฑ์ของกรมอนามัยในเดือนวันแม่แห่งชาติ

7.ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-72 เดือนได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์อายุ

2.อัตราป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง

3.ชุมชนมีความตระหนักและทราบถึงบทบาทในการทำงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 09:44 น.