กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมให้ความรู้ในการดูแลเท้า ในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-50105-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธาน ชมรม อสม.ในเขตรพ.สต.บ้านศาลาตำเสา
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมาหลายปีหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมองหรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ซึ่งปลายประสาทเท้าเสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน รพ.สต.บ้านศษลาตำเสา มีผู้ป่วยที่มารับการรักษา สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา มีผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องในระบบจำนวน97คนส่วนมากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จากการประเมินผลปี 2559 มีผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาล (น้อยกว่า 130 mg.%) ได้เพียงร้อยละ 39.17 อัตราผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเท้าโดยละเอียดประจำปี จำนวน 2559 จำนวน 82 ราย ร้อยละ 84.53 (ระบบคลังข้อมูลโรคติดต่อเรื้อรังจังหวัดพัทลุงปี 2559) และสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพชุมชนมีแนวโน้มประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จึงมีการปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นรายบุคคล รายกลุ่มย่อย ในสถานบริการและชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จริงของกันและกัน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวาน ครอบครัว ญาติ อสม. โดยทีมสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนคอยเป็นพี่เลี้ยงเสริมสร้างพลังให้กลุ่มมีความมั่นใจในการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม การช่วยดูแลสุขภาพกันเองแบบองค์รวมในชุมชน เช่น อสม. ช่วยตรวจวัดความดันโหลิตสูง เจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว ตรวจทดสอบปลายประสาทเสื่อมที่เท้า ครอบครัวและญาติ สามารถเป็นกำลังใจให้กันและกันเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เท้า จะได้ไม่ถูกตัดเมื่อเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลเท้า การบริหารและวิธีนวดเท้า

ผู้ป่วยเบาหวานรู้วิธีการบริหารและนวดเท้า

2 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานไม่ถูกตัดเท้า

3 เพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม.ตามแนวทางการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สร้างทักษะ เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง

อสม.ได้รับความรู้ ทักษะ และการทำงานเป็นทีม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. เชิญวิทยากรจากคลินิกโรคเรื้อรังให้ความรู้ในการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน สอนการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
  3. จัดกิจกรรมการดูแลเท้าด้วยตนเอง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเช็ดเท้า การตรวจ/คลำ ทาโลชั่น การนวดเท้า การบริหารเท้า แก่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยวิทยากรจากคลีนิกโรคเรื้อรัง รพ.ควนขนุน ร่วมกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ควบคุมดูแลและกำกับกิจกรรม
  4. สรุปและประเมินโครงการ ลงบันทึกข้อมูลในแบบติดตามเยี่ยมบ้านใน Folder
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เป็นฐานข้อมูลในการประเมินภาวะแทรกซ้อนด้านการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายอำเภอควนขนุน
  2. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลรักษาและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของเท้า ตามแนวทางการรักษาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม เป็นแนวทางเดียวกัน
  3. หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างต่อเนื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 15:17 น.