กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
รหัสโครงการ 61-L7573-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธิติ สิทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางขนิษฐา พุกบุญมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ส.ค. 2561 30 ส.ค. 2561 1,425.00
2 4 ก.ย. 2561 4 ก.ย. 2561 2,725.00
3 25 ก.ย. 2561 25 ก.ย. 2561 1,850.00
รวมงบประมาณ 6,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจุจบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนไปสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพทำให้เกิดการบริโภคอาหารประเภทจานด่วนอาหารสำเร็จรูปเข้ามามีบทบาทโดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียนซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆรวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด์กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลงองค์ประกอบเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอันตรายของโรคอ้วนในเด็ก ซึางโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยจากข้อมูลระบบ HealthDAta Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปี 2558เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.4และปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็ร้อยละ 12.5 เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติเช้านโรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้นนอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรงมีผลกระทบต่อทางเดินหายใจทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คือ ทำให้เกิดกลุ่มอาการ Pickwickian Syndromeส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่งเรียน เนื่องจากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในโรงเรีบนบ้านควนขนุนพบว่าสถานการณ์แนวโน้อมของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กนักเรียน 2559 ร้อยละ 11.11 และปี 2560 ร้อยละ 15.48ซึงอัตราของภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านควนขนุนสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดตัวชี้วัดเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 10 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทางศูนย์พัฒฯาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุนและศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลตำบลควนขนุน ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเพื่อให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพการดูแบสุขภาพการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสถขภาพ และให้โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจร้อยละ 80

20.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น ร้อยละ 60 มีน้ำหนักลดลงร้อยละ 60

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,000.00 4 6,000.00
30 ส.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส 0 1,425.00 1,425.00
13 ธ.ค. 61 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครอง 0 2,725.00 2,725.00
13 ธ.ค. 61 กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเกิน 0 0.00 0.00
13 ธ.ค. 61 กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กราปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 1,850.00 1,850.00

1.สำรวจข้อมูลเด็กนักเรียน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 2.จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกิน 3.จัดอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 4.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งเสริมให้ลูกมีรูปร่างสมส่วนที่ยั่งยืน 5.ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเกินและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6.สรุปประเมินภาวะโภชนาการเด็กและรายงานผลกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กนักเรียนอายุ 6-14 ปี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส. 2.นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมีน้ำหนักลดลง 3.นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 14:52 น.