กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้และสำรวจความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-50105-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.ในเขต รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรม อสม.ในเขตรพ.สต.บ้านศาลาตำเสา
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการตรวจระดับเอ็น"ซม์โคลีนเอสเตอเรส ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้างในปี 2559 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ตำบลชะมวง พบว่าผลตรวจสุขภาพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้าง จำนวน 50 คน พบอัตราผู้มีระดับโคลีนเอสเตอเรสในกระแสโลหิต มีระดับความเสี่ยงจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 34 ไม่ปลอดภัยจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2 ตรวจพบปกติ 1 คน ร้อยละ 2 พบผลปลอดภัยจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 62 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีพบว่ากลุ่มชาวนาส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ถูกวิธีจากภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 92.3 พฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีคืออายุ ประสบการณ์เกิดอาการแพ้พิษจากสารเคมี และพบปัญหาอุปสรรคในการป้องกันสารเคมี คือปัญหาการใช้ถุงมือ การใช้แว่นตา และการสวมรองเท้าบูท และผลจากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าชาวนาไมาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ชาวนาส่วนใหญ่เชื่อว่าร่างกายทนต่อสารเคมีในปริมาณมาก ๆ ได้ องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 66 ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองตากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมู่บ้านละ 10 คน ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดทุกคน

เกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดทุกคน

2 เพื่อให้เกษตรกรที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยง ระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติิกรรมร้อยละ 80

เกษตรกรได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 80

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีในเลือด เกณฑ์ปกติและปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15

กลุ่มเสี่ยงมีสารเคมีในเลือด เกณฑ์ปกติและปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
  2. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน
  3. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรทราบเพื่อเตรัยมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ
  4. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตตกร ครั้งที่ 1 ตามวัน เวลาที่นัดหมายโดยจ้างควนขนุนแล็ป
  5. แจ้งผลเลือดครั้งที่ 1 โดยควนขนุนแล็ป
  6. ให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกคน
  7. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 2 ตามวัน เวลาที่นัดหมาย โดยจ้างควนขนุนแล็ป (ระยะห่างจากครั้งที่ 1 เป็นเวลา 3 เดือน)
  8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
  9. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดทุกคน
  2. ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติิกรรมร้อยละ 80
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีในเลือด เกณฑ์ปกติและปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 15:30 น.