โครงการส่งเสริมทันฑสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนระดับอนุบาลในเขตตำบลปากแจ่ม
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันฑสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนระดับอนุบาลในเขตตำบลปากแจ่ม |
รหัสโครงการ | 61-L1536-1-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปากแจ่ม |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 23,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.ปากแจ่ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | คณะกรรมการกองทุนฯ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.737,99.724place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคฟันผุเป็นโรคของเนื้อเยื่อฟัน (ผิวเคลือบฟัน เนื้อฟันผิวรากฟัน) ซึ่งเกิดจากมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเหล่านี้จนทำให้เกิดเป็นโพรงและสามารถลุกลามจนเกิดการสูญเสียฟันทั้งซี่วิทยาการในปัจจุบันทำให้ความเข้าใจในกระบวนการเกิดโรคฟันผุมากขึ้นซึ่งไม่ได้เป็นเพียงความสัมพันธ์ของปัจจัยหลัก๓ประการ ได้แก่ ตัวฟันเชื้อแบคทีเรียและน้ำตาลแต่ยังมีปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติพฤติกรรม ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยในสิ่งแวดล้อมอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โรคฟันผุยังเป็นโรคที่สำคัญที่พบได้ในเด็กปฐมวัยซึ่งจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเด็กอายุ๓ปีถึง ๓ ปี ๑๑ เดือน ข้อมูลเปรียบเทียบร้อยละของเด็ก ๓ ปี ฟันน้ำนมผุในภาพรวมของจังหวัดตรังกับอำเภอห้วยยอดในปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ มีอัตราฟันน้ำนมผุ๕๘.๒ ๔๘.๕ และ ๔๘.๕ ตามลำดับส่วนอำเภอห้วยยอดในปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ มีอัตราฟันน้ำนมผุ ๕๓.๑ ๕๒.๑และ ๖๗.๔ตามลำดับ๑-๓ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระดับจังหวัดยังมีอัตราปราศจากฟันผุที่สูงกว่าดังนั้นมาตรการในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุจึงควรครอบคลุมถึงการให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี การเคลือบหลุมร่องฟันที่ลึกการใช้สารประกอบฟลูออไรด์รูปแบบต่างๆในการป้องกันฟันผุฟลูออไรด์เป็นสารที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีผลในการควบคุมโรคฟันผุได้โดยมีกลไกป้องกันฟันผุคือชะลอกระบวนการสลายของแร่ธาตุจากผิวฟันและส่งเสริมการเกิดกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุสู่ผิวฟัน ช่วยให้เคลือบฟันแข็งแรงและรบกวนเมตาบอลิซึมของแบคทีเรีย ปัจจุบันมีการแนะนำให้ใช้ฟลูออไรด์วานิชมาในการป้องกันโรคฟันผุสำหรับเด็กเล็กเนื่องจากมีความปลอดภัยสูงใช้ได้ผลดี มีคุณสมบัติยึดติดกับผิวเคลือบฟันได้นานสามารถปล่อยฟลูออไรด์ได้อย่างช้าๆ เสียเวลาในการทาน้อยซึ่งเหมาะสมกับเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือในการรักษาน้อยและยังทำให้ความเข้มข้นของฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นในผิวเคลือบฟันมากกว่าฟลูออไรด์เฉพาะที่ตัวอื่นๆมีส่วนสำคัญที่ทำให้ฟันผุในระยะเริ่มต้นหยุดการลุกลามหรือกลับมาปกติได้ การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพมีกิจกรรมที่จำเป็นอยู่๕กิจกรรม คือการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการมีสุขภาพที่ดีการทำกิจกรรมให้ชุมชนเข้มแข็งการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการจัดระบบบริการสุขภาพใหม่ให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการบริการตรวจรักษาแต่เพียงด้านเดียวในทางปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพนั้นมีวิธีการดำเนินกิจกรรมได้หลายวิธีเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการดูแลสุขภาพของตนเองเช่นการให้สุขศึกษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค การส่งเสริมสุขภาพตามสถานที่๔ เป็นต้น การจัดกิจกรรมออกทาฟลูออไรด์วานิชในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนั้นถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมสุขภาพตามสถานที่วิธีหนึ่งซึ่งให้ผลที่ทั้งการส่งเสริมทันตสุขภาพและการป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยได้ดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มอัตราปราศจากฟันผุในเด็กเล็กซึ่งจะนำไปสู่การมีทันตสุขภาพช่องปากที่ดีของประชากรในเขตตำบลปากแจ่มจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนระดับอนุบาลตำบลปากแจ่ม จังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๑ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมกิจกรรมจัดบริการทาฟลูออไรด์วานิชสำหรับป้องกันโรคฟันผุ
- ขออนุญาตผู้ปกครองเด็กในการทาฟลูออไรด์วานิช
- ให้บริการตรวจฟันเด็กปฐมวัย
- ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิช
- ใบแจ้งผลการตรวจฟันเด็กปฐมวัยให้ผู้ปกครองรับทราบ
๒. กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมสนับสนุนแปรงสีฟันหลังอาหารกลางวัน
- สำรวจสถานที่เก็บแปรงสีฟัน ความสะอาด
- สำรวจกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ แห่งและโรงเรียนระดับอนุบาล ๔ แห่งเดือนละ ๑ ครั้ง
๓. กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมสำรวจสภาวะทันตสุขภาพอายุ ๓ ปีถึง ๓ ปี ๑๑ เดือน
- ตรวจฟันเด็กอายุ ๓ ปีถึง ๓ ปี ๑๑ เดือน
- ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิช
- ให้บริการอุดฟันอย่างง่าย (SMART) แก่เด็กที่มีฟันผุไม่ลึกและไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน
อัตราการปราศจากฟันผุของเด็กปฐมวัยในเขตอำเภอห้วยยอดเพิ่มสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดระดับประเทศ ครูผู้ดูแลเด็กสามารถช่วยตรวจคัดกรองโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเพื่อให้นำบุตรหลานมารับบริการทันตกรรมตามความจำเป็นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 09:59 น.