กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3065-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832,101.178place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้วโดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วยการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
สถิติการระบาดของโรคในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยงตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ.2559 มีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก พ.ศ. 2557 จำนวน 0 ราย พ.ศ.2558 จำนวน 7 ราย และ พ.ศ.2559 จำนวน 4 ราย ตามลำดับ ในปี 2560 คาดการณ์ว่าแนวโน้มการระบาดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่รอบข้างกำลังระบาด และมีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางผู้บริหารมองเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรค อ้างถึงพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์กาบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 67(3)มีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน
  1. มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่เกินอัตรา 50 แสนประชากร
    1. เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
2 เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก

 

3 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดประชุมร่วม แกนนำชุมชนโรงเรียน โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อจัดทำแผนรณรงค์ Big cleaning day กำจัดลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธ์ ในหมู่บ้าน หน่วยงานราชการ
    1. จัดประชุมร่วม แกนนำชุมชนโรงเรียน โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อคืนข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการดำเนินงาน
  3. จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
  4. ลงพื้นที่ รณรงค์ Big cleaning day กำจัดลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธ์ ในหมู่บ้าน หน่วยงานราชการ ตามแผน
  5. ออกพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในหมู่บ้าน หน่วยงานราชการ
    1. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียนในเขตอบต.ตุยง
  2. ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
  3. ผู้นำชุมชน / ประชาชน/ นักเรียนมีความรู้ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้านและโรงเรียน
    1. หมู่บ้านชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย
    2. ประชาชน มีความพึงพอใจในการควบคุม ป้องกันโรค
    3. สัมพันธภาพที่ดีระหว่างองค์กร กองทุนฯ และประชาชนในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 15:39 น.