กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L1478-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 ตำบลละมอ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 14,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 นางประคิ่นเพ็ชรย้อย 2 นางดรุณีชัยสุข 3 นางบุญนัดบริโท 4 นางสาวจุฑามาศแสงจันทร์ 5 นายสุวิทย์ดีเบา
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ด้วงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน หากไม่หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของร่างกายร่วมกับปัจจัยอื่นๆก่อให้เกิดอาการเมตาบอลิก ได้แก่การมีไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีภาวะผิดปกติอื่นๆในกระแสเลือดแข็งตัวได้ง่ายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพอย่างเงียบๆ ก่อให้เกิดโรคหลายอย่างซึ่งเป็นสาเหตุการตายในระยะต้นๆ ได้แก่พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ความเครียด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ รวมถึงปัจจัยด้านอายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งมีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายเพื่อควบคุมและลดน้ำหนักตัว ควบคุมอารมณ์ งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ ซึ่งทุกคนสามารถกระทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง จากผลการดำเนินงานของหมู่ที่ 2 ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ในปี 2560 พบว่า ประชากร 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 364คนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค64คน คิดเป็นร้อยละ17.58ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 364คนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.92 จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น หมู่ที่ 2 ตำบลละมอ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนขึ้น เพื่ออบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงให้รู้จักโรค ตระหนักถึงปัญหา ละภัยของโรค มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคและมีรูปแบบกิจกรรมในชุมชน โดยจัดทีมออกเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง เพื่อเยี่ยมดูแลให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะเสื่ยง

1.อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงลดลง 1.อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 2.40

70.00
2 2 เพื่อพัฒนาความรู้คณะทำงาน ในการออกเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน
  1. คณะทำงานมีความรู้ ความสามารถในการแนะนำกลุ่มเสี่ยง ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะเสี่ยงได้
70.00
3 3 เพื่อเยี่ยมดูแลให้กลุ่มเสี่ยงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดระดับความเสี่ยง

1.มีทีมออกเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,950.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 -จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในชุมชน 0 12,450.00 -
1 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 - คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงต้นแบบ - ทีมออกเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน (เดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน) - จัดกิจกรรมประกวดครอบครัวกลุ่มเสี่ยงดีเด่น 0 2,500.00 -
1 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในชุมชน
  2. คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงต้นแบบ และคณะดำเนินกิจกรรมในชุมชน
  3. ดำเนินรูปแบบกิจกรรมในชุมชน 3.1 ทีมออกเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน (เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน) 3.2 จัดกิจกรรมประกวดครอบครัวกลุ่มเสี่ยงดีเด่น 3.3 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรค การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรค
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 11:49 น.