โครงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดภัยเงียบความดันโลหิตสูงเบาหวาน ในคลีนิก DPAC ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดภัยเงียบความดันโลหิตสูงเบาหวาน ในคลีนิก DPAC ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-50105-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน |
วันที่อนุมัติ | 20 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 29 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 42,320.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | สถานีอนามัยบ้านหัวถนน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.765,99.956place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นผลพวงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินอาหาร การขาดการออกกำลังกายของคนเราในปัจจุบัน ซึ่งเสมือน ภัยเงียบ ใกล้ตัว ที่กำลังคืบคลานถึงชีวิต…
โรคเบาหวาน กลายเป็นโรคพบบ่อยอันดับต้นๆ เทียบเคียงใกล้กับโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นภัยอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เพราะการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงตามมาอีกมากมาย โดยสมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาเคยคาดการณ์ไว้ว่าแนวโน้มผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกในอีกประมาณ 20ปีข้างหน้าหรือในราวปี 2573จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว คิดเป็นตัวเลขผู้ป่วยราว 438ล้านคน จากเดิม 285ล้านคน ขณะที่ผู้ป่วยชาวไทยเอง ในปี 2553 พบว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20ปีถึง 79 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 7.7%หรือราว 450,000 คนของประชากรทั่วประเทศ62 ล้านคนนั่นแสดงว่า คนไทยทุก 100 คน มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานถึง 7-8 คนและโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตที่สำคัญของคนไทย เป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีอาการเตือนปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ กรรมพันธุ์ เช่น มีพ่อ แม่ พี่น้อง เป็นโรคความดันโลหิตสูง และอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปส่วนปัจจัยเสี่ยงควบคุมได้ ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด ไขมันในเลือดสูง ภาวะเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เครียดเรื้อรัง สูบบุรี่ และดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนักตัวควบคุมอารมณ์งดการดื่มสุราและการสูบบุหรี่จึงเป็นแนวทางแรกของการลดภัยเงียบ ซึ่งทุกคนสามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายซึ่งสอดคล้องกับกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงจำนวน 80 คน พบว่าเสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 71.25 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2559 รับการคัดกรอง 1,484 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126 mgdl) จำนวน 426 คน คิดเป็นร้อยละ 28.70ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mgdl) จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 2.96ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 13 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 433.19 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 201 คน มีภาวะแทรกซ้อน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 57.21และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 695 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 6.83ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 26 ราย อัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 866.38 ต่อแสนประชากรผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 474 คน มีภาวะแทรกซ้อน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 43.24
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดภัยเงียบ ในคลินิก DPAC เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคเรื้อรังลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบภาวะสุขภาพของตนเองได้ กลุ่มเป้าหมายได้ทราบภาวะสุขภาพของตนเอง |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง |
||
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ให้สามารถลดภาวะ ความโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง |
||
4 | จัดตั้งคลินิก DPAC ในสถานบริการ จัดตั้งคลินิก DPAC ในสถานบริการ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชนอสม.อบต.แกนนำครอบครัว
- ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายแจ้งวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านแจ้งประชุมประจำเดือนของ อสม.
- จัดเตรียมเอกสารและสื่อ
- รับสมัครเข้าร่วมโครงการ
- จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย1ครั้ง จำนวน2วัน
- คัดเลือกผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน10 คนเป็นวิทยากรเครือข่ายในการดำเนินงานคลินิกDPAC
- จัดตั้งคลินิก DPAC ในสถานบริการ
- ประสานวิทยากรเครือข่าย มาร่วมในคลินิก
- นัดกลุ่มเป้าหมายมาติดตามความก้าวหน้าในคลินิก4ครั้งๆ ละ 3.๕ชั่วโมง
- ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
- ร้อยละของจำนวนผู้เข้าโปรแกรมบำบัดอย่างต่อเนื่อง
- ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีค่า ความดัน ค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง
- มีการจัดตั้งคลินิก DPAC
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 15:51 น.