กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลโภชนาการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 61-L1507-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2561 - 20 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 21,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านวัดโพรงจระเข้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.376,99.768place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2561 20 เม.ย. 2561 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (21,075.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าสาเหตุการตายส่วนใหญ่ของคนไทยเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากถึงร้อยละ ๖๐ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นต้น สาเหตุหลักของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่ร้อยละ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็มเกิน และกินผักน้อยลง คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ เส้นเลือดสมองเสื่อมทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อมทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำ ให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต จากข้อมูลคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้ ปีงบประมาณ 2560 พบว่า ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี เท่ากับ 42.36 และร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี เท่ากับ 24.02 ซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังรังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่สามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้ จัดทำโครงการห่วงใยใส่ใจ ดูแลโภชนาการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้ ปีงบประมาณ 2561นี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 21.00 -

๑. การวางแผน - การประชุมวางแผนการดำเนินงาน - จัดทำโครงการและขอเสนออนุมัติโครงการ - กำหนดการจัดกิจกรรม - จัดหาวิทยากรที่เหมาะกับโครงการ ๒. การดำเนินการตามขั้นตอนของกิจกรรม - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 120 คน แบ่งเป็นผู้ป่วย
โรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 70 คน
- อบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - กิจกรรมการตรวจหาปริมาณโซเดียมในอาหารตัวอย่างที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรับประทานในชีวิตประจำวัน - อบรมให้ความรู้ เรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยน - กิจกรรม การออกแบบเมนูอาหารที่สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - อบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังด้วยการเล่นโยคะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๓. การติดตามตรวจสอบและประเมินผล - ประเมินแบบสอบถามความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม - ประเมินผลความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ๔. การรายงานผล - สรุปผลการประเมินแบบสอบถามความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม - สรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม - ประเมินผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ - สรุปรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ที่ถูกต้อง มีการปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม
  2. ลดอัตราการเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 13:42 น.